Page 23 - E-BOOK
P. 23
(๓) รถกระจายอาหารเคลื่อนที่ “รถพุ่มพวง” หรือรถเร่ขายกับข้าว คือหนึ่งในกลไก
ส�าคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับกลุ่มคนเปราะบาง ทั้งผู้สูงอายุ คนพิการ คนที่อยู่ในพื้นที่
ห่างตลาดได้เข้าถึงอาหารในภาวะวิกฤตโควิด-19
(๔) การกระจายอาหารผ่านรูปแบบการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนอาหาร เช่น ตู้ปันสุข
กลุ่มปันอาหารปันชีวิต อาหารจากวัด การแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างคนภูเขาและทะเล ดังกล่าวเป็นการกระจาย
อาหารผ่านต้นทุนทางสังคม
เมื่อมองจากมิติความมั่นคงทางอาหารอย่างรอบด้าน การกระจายอาหารที่ผูกขาดรวมศูนย์ที่เป็นอยู่
ในขณะนี้ไม่ใช่ระบบอาหารที่มั่นคงและยั่งยืน ดังที่พบว่า เมื่ออุตสาหกรรมอาหารเติบโตขึ้น เกษตรกรรายย่อย
ล่มสลาย กลับประสบกับปัญหาโภชนาการ ขาดความหลากหลายของอาหาร ประสบกับปัญหาความไม่ปลอดภัย
ทางอาหาร รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตจากเกษตรกรรมเคมีเชิงเดี่ยว หรือการน�าพันธุวิศวกรรมมาใช้ใน
การเกษตร ระบบการกระจายอาหารที่เห็นได้จากการปรับตัวท่ามกลางสภาวะวิกฤตที่กล่าวมาข้างต้น ควรเป็นการ
กระจายอาหารเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยแนวทาง ดังนี้
(1) สร้างระบบการกระจายอาหาร ขยายตลาดท้องถิ่น และการกระจายอาหารโดยตรงระหว่าง
เกษตรกรกับผู้บริโภค หรือพัฒนาระบบตลาดออนไลน์ทางเลือก โดยคนรุ่นใหม่และหน่วยงานต่างๆ สนับสนุน
ให้เกิดระบบจัดส่งผลผลิตเกษตรและอาหารมายังผู้บริโภคเอง โดยไม่ต้องผ่านระบบค้าปลีกที่มียักษ์ใหญ่
ครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากเกินไป
(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งในการปลูกผักและอาหารโดยครอบครัวและชุมชนทั้งในหัวเมือง
และเมืองใหญ่ ลดค่าใช้จ่ายอาหารลง และสามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้มากขึ้น เพราะค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
ของครัวเรือนไทยนั้นสูงถึง ๓๕% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในภาพรวม และมากถึง ๔๕ – ๕๐% ส�าหรับประชาชน
ที่มีรายได้น้อย
(๓) แนวคิดการสร้างเครือข่ายธนาคารอาหาร ที่เป็นระบบส�ารองอาหารในระดับชุมชน และมีความ
คล่องตัวสูงเพราะถูกออกแบบจากคนในพื้นที่
(๔) การมีระบบจิตอาสา เป็นเครือข่ายส�าคัญในการกระจาย เป็นสะพานเชื่อมกับชุมชนยามภาวะวิกฤต
ซึ่งปฏิบัติการรวดเร็ว
(๕) การสร้างพื้นที่อาหารรวมของชุมชน เป็นการกระจายอาหารอย่างมีส่วนร่วม ลดขั้นตอนคนกลาง
เข้าถึงได้เร็วยามวิกฤต
(๖) การพิจารณาโลจิสติกส์ในระดับจุลภาค ซึ่งให้ความส�าคัญและเหมาะสมกับระดับชุมชน หรือการ
ผนวกระบบออนไลน์มาใช้ท�าให้ภาพของการกระจายอาหารรวดเร็วและเดินทางสั้นและน้อยลง
๔. ทบทวนนโยบายสาธารณะในปัจจุบัน
๓
นโยบายสาธารณะ ตามความหมายในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2๕๕๙
หมายถึง “ทิศทางหรือแนวทางที่สังคมโดยรวมเห็นว่าหรือเชื่อว่าควรจะด�าเนินการไปในทิศทางนั้น รวมถึง
นโยบายที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรที่ก�าหนดมาจากรัฐด้วย” นโยบายสาธารณะในปัจจุบันที่เกี่ยวกับประเด็นความ
มั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตประกอบด้วยทั้งนโยบายที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความมั่นคงทางอาหาร และ
นโยบายที่หนุนเสริมหรือเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งด้านความมั่นคงทางอาหาร มีข้อสรุปโดยสังเขป ดังต่อไปนี้
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ 21