Page 22 - E-BOOK
P. 22

สามารถในการแข่งขันสูงขึ้นเสมอไป และมิได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเกษตรกรและผู้ค้ารายเล็กจะมีส่วนร่วม
            ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดังนั้น นโยบายส�าคัญของประเทศ คือ “นโยบายส่งเสริมขีดความสามารถ

            ในการแข่งขัน” พร้อมกับ “การเพิ่มบทบาทของผู้ประกอบการรายย่อย” จะเป็นสิ่งส�าคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ
            ธุรกิจการเกษตรขนาดเล็ก-กลางในชนบท  สามารถเชื่อมโยงเกษตรกรรายย่อยกับห่วงโซ่อุปทานและ
            ความต้องการของผู้บริโภคได้ พร้อมกับสร้างความเป็นธรรมและความยั่งยืนของการกระจายอาหารเพื่อสร้าง
            ความมั่นคงทางอาหารได้


                           ภาวะวิกฤตกับวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่ (New Normal) ในระบบการกระจายอาหาร ภาพที่ปรากฏในสื่อ
            และการรับรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) พบว่า รูปแบบการกระจายอาหารในภาวะวิกฤตมี 2 ลักษณะ
            ที่ส�าคัญ คือ


                           ๑) การกระจายอาหารผ่านธุรกิจบริการจัดส่งอาหาร (Food Delivery) เติบโตขึ้นมาก สถานการณ์
            โควิด-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการซื้อกลับไปรับประทานที่บ้านและเกิดกิจกรรมการปรุงอาหารรับประทาน
                                                       1๔
            เองมากขึ้น บทวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย  ระบุว่า ยอดขายอีคอมเมิร์ซ และบริการสั่งอาหารไปยัง
            ที่พัก (Food Delivery) ของไทยในช่วงระหว่างวันที่ 22 มีนาคม–๓๐ เมษายน พ.ศ. 2๕๖๓ จะเพิ่มขึ้นจากช่วง
            เวลาปกติราว ๘,๐๐๐ ล้านบาท (แบ่งเป็นอีคอมเมิร์ซ ๖,๘๐๐ ล้านบาท และบริการสั่งอาหารไปยังที่พัก 1,2๐๐

            ล้านบาท) สถานการณ์โควิด-19 จะเป็นตัวเร่งส�าคัญ ให้ผู้บริโภคมีต้องการอาหารที่มีนวัตกรรมสร้างระบบ
            ภูมิคุ้มกันให้ร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น ขณะที่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงกักตัว ส่งผลให้กลุ่มอาหาร
            พร้อมปรุง อาหารพร้อมรับประทาน อาหารที่มีอายุเก็บรักษานาน ตลอดจนอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

            และดีต่อสุขภาพ มีอัตราเติบโตสูงขึ้น ความหวาดระแวงในไวรัส ท�าให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมการซื้ออาหาร
            กลับไปรับประทานที่บ้านมากขึ้น เกิดกิจกรรมปรุงอาหารกินเองเพิ่มขึ้น และนิยมซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์
            มากขึ้นจนกลายเป็น New Normal

                           ๒) การขับเคลื่อนการกระจายอาหารทางเลือก ในหลากหลายช่องทาง อาทิ


                                  (๑) ตลาดสีเขียวชุมชน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือตลาดที่เกษตรกรและชุมชนเป็นผู้ประกอบการเอง
            เกิดในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่น เป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชน นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนได้เปิด
            ‘ตลาดนัดองค์กรชุมชน’ ขายสินค้าออนไลน์ช่วยพี่น้ององค์กรชุมชน ทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบพิษเศรษฐกิจ-
            ไวรัสโควิด-19 ตลาดสีเขียวในชุมชนมีส่วนอย่างมากในการช่วยสนับสนุนให้เกิดการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง

            โดยเน้นการซื้อของจากตลาดชุมชนใกล้บ้าน อาหารท้องถิ่น และตลาดในประเทศ ดังนั้น หากมีการพัฒนาและ
            ส่งเสริมให้มีตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ที่อยู่บนฐานของการเกื้อกูล เชื่อมโยง
            ระหว่างเมือง ชานเมือง และชนบท ก็จะท�าให้เกิดการกระจายอาหารและเข้าถึงอาหารประเภทที่มีคุณภาพ
            ซึ่งสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาและขณะปัจจุบันท�าให้เกิดการก่อรูประบบตลาดสีเขียว ตลาดท้องถิ่นที่เชื่อมโยง

            กันนี้ได้เด่นชัดและเป็นตัวอย่างในหลายท้องถิ่นมากขึ้น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมอย่างต่อเนื่องต่อไป

                                  (๒) การรวมกลุ่มกลุ่มทางสังคม ของเกษตรกรหรือผู้ท�างานพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมในเมือง
            เพื่อเป็นพื้นที่กลางเชื่อมโยงวัตถุดิบอาหารที่สดใหม่ ไม่ต้องกักตุนอาหาร และเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคในเมือง
            เข้าถึงกลุ่มเกษตรกรได้โดยตรง นอกจากเครือข่ายธนาคารอาหาร กลุ่มปันอาหาร กลุ่มปันชีวิต ยังมีกลุ่มอื่นๆ

            อาทิ ใน กทม. มีกลุ่ม Better Bangkok ที่ประสานกับบริษัทธุรกิจเอกชนให้ความช่วยเหลือด้านอาหารเป็น
            ข้าวกล่อง เครือข่าย  Local Thailand ใช้ช่องทางออนไลน์ในการช่วยเหลือคนที่ยากล�าบากในสถานการณ์
            โควิด-19 และในระดับชุมชนมีกิจกรรมมีการรวมกลุ่มและมีกิจกรรม เช่น “คลองเตย ดีจัง ปันกันอิ่ม” ช่วยบรรเทา
            ความเดือดร้อนให้ชุมชนโรงหมูในเขตคลองเตยกับช่วงสถานการณ์โควิด-19



            2๐     มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27