Page 25 - E-BOOK
P. 25

2) มิติการได้มาซึ่งอาหาร : การสนับสนุนโดยรัฐท�าให้เกิดการผูกขาดทางการค้าและท�าลาย
             ระบบการแลกเปลี่ยนอาหารของเกษตรกรรายย่อย ไม่ส่งเสริมให้เกิดช่องทางการเข้าถึงอาหารซึ่งผู้บริโภคสามารถ

             เข้าถึงได้อย่างหลากหลาย ฯลฯ

                                   ๓) มิติด้านการกระจายและการเข้าถึงอาหาร : ทิศทางเชิงนโยบายยังมุ่งส่งเสริมการ
             ผูกขาดทางด้านการตลาดโดยระบบโมเดิร์นเทรดและให้บทบาทหลักแก่ธุรกิจอาหารในการสร้างความมั่นคง
             ทางอาหารทั้งในการผลิต และการกระจาย และยังมุ่งไปในทิศทางสร้างการผูกขาดด้านสิทธิบัตรผ่านข้อตกลง

             ระหว่างประเทศ นโยบายสาธารณะที่ด�ารงอยู่ไม่มีความชัดเจนในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน
             และเพิ่มบทบาทของเกษตรกรผู้ผลิต และผู้ประกอบการรายย่อย

                                   ๔) มิติการเข้าถึงแหล่งอาหารจากฐานทรัพยากรของชุมชน : นโยบาย กฎหมาย เกี่ยวข้องที่แม้

             จะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายส�าคัญ ๓ ฉบับ คือ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2๕๖2 พ.ร.บ.สงวนและ
             คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2๕๖2 และ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ. 2๕๖2 แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีบทบัญญัติรองรับ
             สิทธิชุมชนและการใช้ประโยชน์ฐานทรัพยากรยังมีข้อจ�ากัดแก่ชุมชนท้องถิ่นในการเข้าถึงแหล่งอาหารจากฐาน
             ทรัพยากรอย่างมาก ท�าให้ชุมชนไม่สามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารจากฐานทรัพยากรได้ ในสภาวะวิกฤติ
             ความมั่นคงทางอาหารยังขาดความชัดเจนด้านมาตรการ นโยบาย ฯลฯ ที่ให้ความช่วยเหลือต่อกลุ่มผู้เปราะบาง

             ผู้ด้อยโอกาส หรือ ผู้ที่หลุดจากกลไกทางสังคมไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรหรือบริการทางสังคม หรือถูกกีดกัน
             ไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมทางสังคมหรือทางการเมือง ซึ่งรวมไปถึงแรงงานต่างชาติ หรือบุคคลไร้รัฐ ฯลฯ

                     ๔.๒ นโยบายสาธารณะที่หนุนเสริมหรือเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร


                            นโยบายสาธารณะที่หนุนเสริมหรือเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วยสองส่วน คือ
             (1) นโยบายของรัฐ ที่เกิดขึ้นในช่วงของสถานการณ์โควิด-19 และมีผลต่อการหนุนเสริมให้เกิดความมั่นคงทาง
             อาหาร เช่น นโยบายจ่ายเงินเยียวยาภายใต้โครงการเราไม่ทิ้งกัน และโครงการเยียวยาเกษตรกร ในจ�านวนเงิน
             ราว ๖ แสนล้านบาท และนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 จ�านวน

             เงินราว ๔ แสนล้านบาท รวมทั้งนโยบายและมาตรการด้านการแจกถุงยังชีพ และการระดมการบริจาคอาหาร
             ในรูปแบบต่าง ๆ และ (2) ในส่วนของสังคม ได้เกิดนโยบายสาธารณะด้านความมั่นคงทางอาหารซึ่งไม่ได้มา
             จากด้านของนโยบายสาธารณะจากผู้มีอ�านาจตัดสินใจเชิงนโยบาย แต่เป็นการขับเคลื่อนร่วมกันในสังคม
             รวมทั้งในระดับกลุ่ม องค์กร หรือภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการจัดการชีวิตสาธารณะร่วมกันและได้มา

             ซึ่งหลักประกันความมั่นคงทางอาหารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น มิติการแลกเปลี่ยนแบ่งปันอาหารในรูปแบบต่าง ๆ
             การพัฒนาระบบการกระจายอาหารในชุมชน ธรรมนูญสุขภาพชุมชน ฯลฯ

                            ๔.๒.๑ นโยบายระยะสั้น (ช่วงวิกฤติ)

                                   1) การจัดการเพื่อรับมือภาวะวิกฤต ควรมีมาตรการเตรียมพร้อมที่ส�าคัญๆ อาทิ ระบบการ

             ส�ารองอาหาร มีระบบแจ้งเตือนให้มั่นใจว่ามีอาหารอยู่เพียงพอ ทั้งในพื้นที่เมือง และชนบท ในภาวะวิกฤต และ
             หลังวิกฤต

                                   2) ในมิติด้านกฎหมาย ควรเพิ่มบทลงโทษต่อผู้กักตุนสินค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย
             และในมิติทางสังคม ชุมชน และกลุ่มเครือข่ายต่าง ๆ ควรมีปฏิบัติการ “การลงโทษทางสังคม” ด้วยการก�าหนด

             มาตรการทางสังคมร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนเป็นส่วนหนึ่งของการเฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามและตรวจสอบ

                                   ๓) ช่วงเกิดวิกฤตอาหาร ควรมีมาตรการน�าพื้นที่ว่างเปล่า รวมถึงที่ดินเอกชนที่ว่างเปล่าไม่ได้




                                                                            มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓  2๓
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30