Page 21 - E-BOOK
P. 21
๕) มิตินโยบายของรัฐ มิติที่ส่งผลอย่างเป็นสาธารณะ คือ มิติที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐ
หากนโยบายถูกออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย การตรวจสอบการ
ใช้จ่าย และการมีส่วนร่วม ก็จะส่งเสริมให้การได้มาซึ่งอาหารของประชาชนถูกมองอย่างรอบด้านและลด
ช่องว่างของการเข้าถึงอาหารลง นโยบายของรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ส่งผลอย่างส�าคัญ
ต่อความมั่นคงทางอาหารของผู้คนทุกระดับ ปัจเจก ครัวเรือน ชุมชนและประเทศ เช่น นโยบายปิดเมือง, นโยบาย
จ่ายเงินเยียวยา, นโยบายเพื่อเยียวยาระยะยาว หรือแม้กระทั่งนโยบายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความ
มั่นคงทางทรัพยากรและอาหารของประเทศ อย่างเช่น Comprehensive and Progressive Agreement of
Trans-Pacific Partnership (CPTPP) ที่อาจส่งผลต่อการเก็บเมล็ดพันธ์ และยาของคนไทย
กล่าวโดยสรุป ความมั่นคงทางอาหารในสภาวะวิกฤต ที่มา และการเข้าถึงอาหาร คือ เส้นทางส�าคัญ
ของอาหาร โดยที่กล่าวมามี ๕ มิติ ที่ส่งผลกระทบต่อการได้มาซึ่งอาหาร ซึ่งผลกระทบอาจจะแตกต่างกันใน
แต่ละกลุ่มเป้าหมาย ที่มีความแตกต่างกันของภูมิประเทศ อาชีพ วัฒนธรรมท้องถิ่น คนที่อยู่บนฐานการเกษตร
หรือต้องการท�าการผลิตอาจจะค�านึงถึงการเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่ดิน น�้า เมล็ดพันธุ์ ผู้คนที่อยู่ใกล้ฐานทรัพยากร
อาจจะค�านึงถึงสิทธิการใช้ประโยชน์จากป่า ทะเล เป็นต้น ส่วนคนจนเมืองอาจจะต้องมีรายได้ที่เพียงพอส�าหรับ
ซื้ออาหารหรือการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอาหารในพื้นที่เล็กๆ และส�าหรับในหลายๆ กลุ่มไม่ว่าเมือง ชนบท
จะมีฐานวัฒนธรรม มีการแบ่งปันกันสอดแทรกอยู่เสมอ แต่แสดงในหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการ
ปันอาหาร ปันพืชผัก หรือแม้การแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ อย่างไรก็ตามยังมีมิติที่ส่งผลอย่างเป็นสาธารณะ นั่นคือ
มิติที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐ หากนโยบายถูกออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงกระบวนการตัดสินใจ
เชิงนโยบาย การตรวจสอบการใช้จ่าย และการมีส่วนร่วม ก็จะส่งเสริมให้การได้มาซึ่งอาหารของประชาชน
ถูกมองอย่างรอบด้านและลดช่องว่างของการเข้าถึงอาหารลง อย่างไรก็ตามใน ๕ มิติมีความสัมพันธ์กันซึ่งแต่ละ
กลุ่มคนอาจจะได้รับผลกระทบจากหลายมิติพร้อมกัน จึงจ�าเป็นต้องมองมิติการได้มาซึ่งอาหารอย่างเชื่อมโยง
จึงสามารถน�าไปสู่การวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหารได้รอบด้าน
๓.๒ การกระจายอาหาร
พัฒนาการของระบบการค้าในโลกทุนนิยมเสรี คือ ปัจจัยส�าคัญของการเปลี่ยนแปลงจากระบบกระจาย
อาหารดั้งเดิมสู่ระบบการกระจายอาหารสมัยใหม่ในสังคมไทย มีการประเมินว่า แรงกดดันต่อธุรกิจถึง
ผลกระทบที่มีในห่วงโซ่อุปทานนั้นมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในระบบเกษตรและการผลิตอาหารที่มี
แนวโน้มจะรวมศูนย์โดยห่วงโซ่อุปทานที่เป็นผู้เล่น ผู้ผลิต และผู้จ�าหน่ายจะเหลือเพียงไม่กี่ราย
ที่ผ่านมาร้านค้าปลีกสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด ได้เปลี่ยนแปลงระบบกระจายอาหารอย่างมากทั่วโลก
ด้วยวิธีการขยายจากเมืองใหญ่ไปสู่เมืองเล็กเกือบทุกจังหวัด จากพฤติกรรมที่เคยเน้นขายแต่คนรวยเริ่มมาจับ
ตลาดคนชั้นกลาง และปัจจุบันเจาะตลาดล่าง ประกอบกับการขยายตัวของห้างค้าปลีกเริ่มจากอาหารกระป๋อง
และอาหารแห้ง จากนั้นจึงขยายตัวสู่สินค้าเนื้อ ผักสด และผลไม้สด นอกจากนี้ระบบการจัดซื้อรวมศูนย์ท�าให้
ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้เปรียบโชห่วยอย่างมาก เพราะมีการประหยัดจากขนาด (economies of scale) บทบาท
ของธุรกิจการเกษตรในระบบห่วงโซ่อุปทาน ท�าหน้าที่เสมือนเป็น “โซ่ข้อกลางที่เชื่อมโยง (link)” ห่วงโซ่อุปทาน
ระหว่างภาคเกษตรกับอุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจการเกษตรมีบทบาทในการจัดหาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ให้
เกษตรกร และเชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้บริโภค โดยเป็นผู้รับซื้อสินค้าจากเกษตรกร จากนั้นขนส่ง แปรรูป กักเก็บ
ขนส่งท�าการตลาด และกระจายอาหารและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค
ประเด็นท้าทายเกี่ยวกับบทบาทของธุรกิจอาหารกับความมั่นคงทางอาหาร คือ การเปลี่ยนแปลงตาม
กลไกตลาดข้างต้นไปสู่ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ และมีการกระจุกตัวมากขึ้น มิได้เป็นหลักประกันว่าประเทศจะมีความ
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ 1๙