Page 24 - E-BOOK
P. 24
๔.๑ นโยบายที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความมั่นคงทางอาหารหรือมีข้อจ�ากัดบางประการ โดยใน
ปัจจุบันมีลักษณะดังนี้
๔.๑.๑ นโยบายระยะสั้น (ช่วงวิกฤติ)
1) นโยบาย แผนงาน มาตรการและกิจกรรมทั้งระดับส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น
ในการด�าเนินการช่วยเหลือในช่วงสภาวะวิกฤติส่วนใหญ่ยังมีลักษณะของการสงเคราะห์เป็นด้านหลัก
2) การน�านโยบายไปปฏิบัติยังขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และแผนงาน
ในการบริหารจัดการด้านความมั่นคงทางอาหารในทุกระดับ ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น
๓) ขาดหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องโดยตรงในภาระกิจการท�างานด้านความมั่นคงทางด้าน
อาหาร ท�าให้สถานการณ์ที่ผ่านมาขาดเจ้าภาพรับผิดชอบในการด�าเนินการอย่างทันท่วงที และขาดระบบการ
บริหารจัดการที่มีรูปแบบ และกระบวนการที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิด เช่น การประกาศเคอร์ฟิว
ส่งผลกระทบต่อการขนส่งอาหาร ฯลฯ
๔) การด�าเนินงานตามแผนงานและแผนงบประมาณภาครัฐมีความล่าช้า ไม่ตรงกับ
แผนงาน และระยะเวลาที่วางไว้ การด�าเนินงานมีความซับซ้อน ขั้นตอน ระเบียบไม่เอื้อต่อการด�าเนินงาน
มาตรการที่ใช้ได้ในการแก้สถานการณ์เร่งด่วนเฉพาะหน้ายังมีความล่าช้าในการด�าเนินการท�าให้ประชาชนต้อง
ออกมาช่วยเหลือกันเอง
๕) การด�าเนินของหน่วยงานต่างๆ ควรให้ความส�าคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน และ
ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีกลุ่มเครือข่าย และกลไกที่มีปฏิบัติการในมิติด้านการรับมือและการปรับตัวรูปแบบ
ลักษณะต่างๆ อยู่แล้ว
๖) ขาดมาตรการหนุนเสริมและการสนับสนุน ระบบการกระจายอาหาร การเข้าถึง
อาหาร และระบบการกระจายอาหารในสภาวะวิกฤติ ขาดมาตรการควบคุมราคาสินค้าในการอุปโภคบริโภค
ในช่วงสภาวะวิกฤติ
๗) นโยบายการเยียวยาและฟื้นฟูภายใต้เงินกู้ ๔ แสนล้าน มีลักษณะด�าเนินการโดยขาด
การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และมีปัญหาในแง่ความเท่าเทียม และการเข้าถึงของกลุ่มคนที่เดือดร้อนและเปราะบาง
๘) การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะโดยรวมของสังคมมีปฏิบัติการอย่างหลากหลายและ
กว้างขวาง แต่ก็ยังมีปัญหาเชิงการจัดการ การประสานความร่วมมือ ท�าให้ไม่สามารถน�าทุนทางสังคมที่มีอยู่
มารับมือกับวิกฤติ เช่น อาหารที่วัดมีปริมาณมาก แต่ขาดการจัดการสู่คนยากล�าบากในพื้นที่ช่วงสถานการณ์
วิกฤตช่วงโควิด-19 เป็นต้น
๔.๑.๒ นโยบายระยะยาว
1) มิติด้านปัจจัยการผลิต : นโยบาย กฎหมาย กลไกเชิงสถาบันที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิต
คือ ที่ดิน น�้า พันธุกรรม ฯลฯ ที่ยังไม่สามารถหนุนเสริมให้เกิดการกระจายการเข้าถึงที่ดินของเกษตรกรรายย่อย
เช่น สถาบันบริหารการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2๕๖2
ระเบียบส�านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยโฉนดชุมชน พ.ศ. 2๕๕๕ ฯลฯ และกฎหมายที่อาจจะน�าไปสู่อุปสรรคต่ออิสรภาพ
ด้านพันธุกรรม หรือก่อให้เกิดการผูกขาดโดยบรรษัทขนาดใหญ่ ฯลฯ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์ชาติ 2๐ ปี ตลอดจนถึงแผนปฏิรูปประเทศยังขาดเนื้อหาสาระ และทิศทางหลักที่รองรับมิติความมั่นคง
ทางอาหาร และเป็นต้นทางของการจัดท�าแผนงบประมาณของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น ๆ ของหน่วยงานรัฐ
22 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓