Page 18 - E-BOOK
P. 18
ในสถานการณ์ปกติ ทุกประเทศมีปัญหา “ประชากรเปราะบาง” ที่อดอยากหรือขาดสารอาหาร จึงมีการ
๗
เสนอให้การเข้าถึงอาหารเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่ต้องปกป้อง และมีปัญหาที่เกิดจากการพัฒนา
เช่น การท�าลายทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาดั้งเดิม และการแย่งชิงทรัพยากร จึงมีการเสนอให้ “อธิปไตยทาง
๘
อาหาร” เป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงทางอาหาร โดยที่ผ่านมาปัญหาในระบบอาหารโดยเฉพาะในส่วนของ
ที่มา การเข้าถึง และการกระจายอาหาร โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้องกับระบบเกษตรกรรม เป็นประเด็นที่มีการ
ผลักดันและด�าเนินการกันมาอย่างยาวนาน โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงรัฐบาล
และหน่วยงานองค์กร ทั้งในระดับนานาชาติและในประเทศไทย ทั้งในเชิงโครงสร้าง และความไม่เป็นธรรมใน
ระบบอาหาร เช่น ปัญหาการครอบครองผูกขาดปัจจัยการผลิตอาหาร ระบบการเกษตรที่ไม่ยั่งยืน รวมถึงปัญหา
๙
ความปลอดภัยของอาหารโดยเฉพาะการใช้สารเคมีก�าจัดศัตรูพืช ในขณะที่การพัฒนาความเป็นเมืองที่ขาด
การวางแผนอย่างเหมาะสมได้ลดทอนความสามารถในการพึ่งตนเองด้านอาหาร ประกอบกับในบริบทของเมือง
มีระบบการผลิต และการกระจายอาหารที่ไม่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อย และผู้ประกอบ
การรายย่อย ในขณะที่ผู้บริโภคก็ไม่มีทางเลือกที่หลากหลายในการเข้าถึงแหล่งอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร
จึงเป็นวิกฤตเรื้อรังที่ “ประชากรเปราะบาง” โดยเฉพาะคนไร้บ้าน คนจนเมือง ต้องเผชิญมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
สถานการณ์วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2๕๖๓ นอกจากคุกคามสุขภาพของ
ประชาชนด้วยปัญหาโรคติดเชื้อแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประชาชนด้วย โดยเป็น
ผลกระทบทั้งจากมาตรการการควบคุมโรคในประเทศ เช่น มาตรการการปิดเมือง ระงับการเดินทางและการ
ด�าเนินกิจการและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ที่ท�าให้คนจ�านวนมากขาดรายได้ การกระจายอาหารติดขัด และได้
รับผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะการสูญเสียแหล่งรายได้จาก
การท่องเที่ยวและการค้าระหว่างประเทศที่หยุดชะงักลง คนจ�านวนมากจึงกลายเป็น “ประชากรเปราะบาง” ที่
เกิดขึ้นจากภาวะวิกฤต ที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ ซึ่งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2๕๖๓ โครงการอาหารโลกแห่ง
สหประชาชาติ (WFP) ได้รายงานสถานการณ์วิกฤตอาหารโลกประจ�าปี ค.ศ. 2020 (Global Report on Food
Crises 2020) ซึ่งท�าการส�ารวจในปี ค.ศ. 2019 พบว่า มีคน 1๖๕ ล้านคน ใน ๕๕ ประเทศทั่วโลกที่จะเผชิญ
1๐
ความอดอยากหรือเผชิญความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรงในปี 2020 นี้ ต่อมาเมื่อสถานการณ์การระบาด
ของโรคโควิด-19 รุนแรงและกระจายวงกว้างขึ้น คณะท�างานจึงจัดท�าคาดการณ์ใหม่ ตัวเลขใหม่ออกมาว่าจะ
มีผู้คนเพิ่มอีก 1๐๐ ล้านคน รวมเป็นคนประมาณ 2๖๕ ล้านคน ที่เสี่ยงต่อความอดอยากขาดแคลนอาหาร เว้น
แต่ว่านานาชาติจะสามารถจัดการกับโควิดได้อย่างรวดเร็ว ท�าให้ลดผลกระทบลงได้ 11
ซึ่งคล้ายกับวิกฤตอื่น ๆ ในอดีตที่สังคมไทยเคยเผชิญ เช่น ในสถานการณ์ภัยพิบัติที่การกระจายอาหาร
ไม่ทั่วถึง หรือในวิกฤตเศรษฐกิจ ที่มีคนจ�านวนมากไม่มีก�าลังซื้อแม้มีอาหารจ�าหน่าย เมื่อเกิดภาวะวิกฤตการ
ระบาดของโรคโควิด-19 ท�าให้ปัญหาความมั่นคงทางอาหารปรากฏเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเรียกว่า “ภาวะ
วิกฤตซ้อนวิกฤต” ที่ด้านหนึ่งได้เผยให้เห็นปัญหาเกี่ยวกับแหล่งที่มาและการเข้าถึงอาหารของผู้คนในสังคม
ปัญหาการกระจายอาหารที่ด�ารงอยู่ และข้อจ�ากัดของนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้อง แต่อีกด้านหนึ่งก็ปรากฏ
ให้เห็นการปรับตัวของผู้คน ชุมชน องค์กรและเครือข่ายทางสังคม ที่ร่วมกันด�าเนินการจัดการรับมือกับปัญหา
ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการที่ภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมร่วมกันขับเคลื่อน
“นโยบายสาธารณะด้านความมั่นคงทางอาหาร” จากส่วนต่าง ๆ ของสังคมโดยไม่รอนโยบายสาธารณะที่ก�าหนด
จากผู้มีอ�านาจตัดสินใจเชิงนโยบาย เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักประกันความมั่นคงทางอาหารในรูปแบบการปรับตัว
ต่าง ๆ จนสามารถเป็นบทเรียนส�าคัญในการรับมือกับวิกฤตความมั่นคงทางอาหารในช่วงที่ผ่านมา
1๖ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓