Page 28 - E-BOOK
P. 28
12) เมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร ต้องมีระบบการจัดการอาหารที่ปลอดภัย และระบบ
การจัดการห่วงโซ่อาหาร พร้อมทั้งระบบการกระจายอาหาร (Logistics) โดยอาจเน้นการใช้ระบบการ
กระจายอาหารผ่านระบบออนไลน์มากกว่าการปลูกในพื้นที่จ�ากัดที่ต้องใช้เทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันยังไม่
สามารถผลิตได้เพียงพอต่อการบริโภคในเมือง
1๓) นโยบายเกี่ยวกับการกระจายการถือครองที่ดิน เพื่อท�าให้เกษตรกรไม่มีที่ดินเป็นของ
ตนเองสามารถครอบครอง เข้าถึงที่ดินในฐานะฐานการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคงทางอาหารที่ส�าคัญ
รัฐควรจัดหาพื้นที่สาธารณประโยชน์ให้เกษตรกรเช่าในราคาถูกในการผลิต
1๔) นโยบายด้านการสร้างฐานทรัพยากรชุมชน เช่น สร้างป่าเศรษฐกิจ การจัดการแหล่ง
อาหารจากธรรมชาติ ที่ชุมชนจะใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน เช่น การมีกฎ ระเบียบในการจัดการร่วม
หรือป้องกันการเก็บหาเชิงท�าลายจากชุมชนอื่นๆ การจัดการพืชอาหารในไร่หมุนเวียนให้มีความหลากหลาย
1๕) การปรับหรือแก้กฎหมาย นโยบาย รวมทั้งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มี
บทบัญญัติรองรับสิทธิในอาหาร สิทธิชุมชน และรับรองให้คนในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะได้
โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนจัดการแหล่งอาหารจากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน เช่น
การจัดการป่าชุมชน ป่าบุ่งป่าทาม เขตอนุรักษ์สัตว์น�้า แหล่งน�้าสาธารณะ ฯลฯ
1๖) การใช้พื้นที่สาธารณะหรือที่ว่างเปล่าที่อยู่ในพื้นที่ชุมชน จัดเป็นพื้นที่กลางส�าหรับ
สร้างแหล่งอาหาร จุดรวมผลผลิต จุดกระจายสินค้าชุมชน สวนผักชุมชน ฯลฯ
1๗) ควรก�าหนดมาตรการ นโยบาย ฯลฯ เพื่อมุ่งช่วยเหลือต่อกลุ่มผู้เปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส
หรือ ผู้ที่หลุดจากกลไกทางสังคม ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรหรือบริการทางสังคม หรือถูกกีดกันจากการ
มีส่วนร่วมทางสังคมหรือทางการเมือง ตลอดจนแรงงานต่างชาติ หรือบุคคลไร้รัฐ ฯลฯ ทั้งในหน่วยงานรัฐ
ส่วนกลาง ภูมิภาค และระดับองค์กรปกครองท้องถิ่น จะช่วยหนุนเสริมให้เกิดการเข้าถึงอาหารในกลุ่ม
ผู้เปราะบาง
1๘) ควรส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
เพราะการช่วยเหลือมักไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย การช่วยเหลือควรท�าเป็นระยะเร่งด่วน ให้การช่วยเหลือปัจจัย ๔
และระยะฟื้นฟู ควรให้กลุ่มเปราะบางได้พึ่งพาตนเองได้ตามศักยภาพ นอกจากนี้ การให้ความช่วยเหลือ
ผู้เปราะบางให้ทั่วถึงและเท่าเทียม ต้องให้หน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงเป็นองค์กรจัดท�าข้อมูล และมี
คนในชุมชนประสานข้อมูลผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น ข้อมูลกลุ่มประชาชนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)
จ�านวน 1๔ ล้านคน และข้อมูลกลุ่มประชาชนที่รัฐบาลต้องใช้เงินอุดหนุนเยียวยาในช่วงสถานการณ์โควิด-19
ระบาด จ�านวนที่ลงทะเบียน 2๘-๓๐ ล้านคน ฯลฯ
1๙) ควรหนุนเสริมการขับเคลื่อนร่วมกันในสังคม รวมทั้งในระดับกลุ่ม องค์กร หรือ
ภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดการจัดการชีวิตสาธารณะร่วมกัน โดยควรเป็นนโยบายที่ให้ความส�าคัญต่อหน่วยย่อย
หรือกลุ่มคน/องค์กรต่างๆ ตลอดทั้งห่วงโซ่ของอาหารสามารถด�าเนินการได้โดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือ
และการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบตั้งแต่การผลิต การกระจายผลผลิต และการบริโภค ในภาคการ
ผลิตอาหาร ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต กลุ่ม/องค์กรที่ท�าหน้าที่เกี่ยวกับทรัพยากรในการผลิต เช่น
ทรัพยากรที่ดิน แหล่งน�้า, กลุ่มสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยชีวภาพ สารบ�ารุงดิน เป็นต้น ภาคการกระจาย
ผลผลิต ได้แก่ ผู้ค้ารายย่อย ผู้รวบรวมผลผลิตในท้องถิ่น ตลาดในท้องถิ่น รวมถึงความต้องการจากกลุ่ม
ผู้บริโภค
2๖ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓