Page 19 - E-BOOK
P. 19
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้สร้างผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ และท�าให้ทุก
ภาคส่วนต้องปรับตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) หลายหน่วยงานได้เล็งเห็นถึงความจ�าเป็นในการทบทวน
แผนแม่บทฯ เพื่อปรับเปลี่ยนแนวทาง/วิธีการ และเครื่องมือ ในการบรรลุเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ
ทั้งนี้สิ่งที่ควรน�ามาพิจารณาในการทบทวนคือประเด็นเรื่อง “สิทธิในอาหาร” (Right to Food) ซึ่งเป็นแนวคิด
ที่มีรากฐานจากกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน โดยปรากฏอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ เช่น ปฏิญญา
สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR) เป็นต้น
ที่รัฐแต่ละประเทศมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพ ปกป้องและเติมเต็มสิทธิในอาหารของประชาชนโดยการด�าเนินการ
เองภายในหรือร่วมมือกับต่างประเทศโดยผ่านมาตรการที่ส�าคัญ คือ มาตรการทางกฎหมาย ที่ควรมีการศึกษา
วิเคราะห์ผลกระทบ และประเมินสถานการณ์ เพื่อน�าไปสู่การพัฒนาระบบกฎหมายของรัฐและการจัดท�า
“แผนแม่บท” เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาในด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ให้มีความยืดหยุ่น
(Resilience) พร้อมรับกับภาวะวิกฤต ให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากล�าบาก และยืนหยัดเจริญเติบโตต่อไปท่ามกลาง
๔
การเปลี่ยนแปลงในอนาคต
ดังนั้น บทเรียนที่เกิดขึ้นในภาวะวิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 จึงท�าให้ “ความมั่นคงทางอาหารใน
ภาวะวิกฤต” เป็นประเด็นสาธารณะที่ส�าคัญ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหมวดประเด็นย่อยในเรื่อง “ปัจจัยสี่ในภาวะ
วิกฤต” ที่ต้องการการทบทวนบทเรียนในมิติต่าง ๆ เพื่อร่วมกันก�าหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสร้างเสริม
“พลังพลเมืองตื่นรู้ สู้วิกฤตสุขภาพ” ในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปี พ.ศ. 2๕๖๓ นี้ โดยการเรียบเรียงเอกสาร
หลักฉบับนี้และร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในประเด็นนี้ เป็นผลจากการทบทวนข้อมูลทางวิชาการและ
การประมวลและวิเคราะห์ค�าตอบต่อ “ข้อถกแถลง” เรื่อง “ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต : วิกฤตซ้อน
วิกฤตจากโควิด-19 สู่ความยั่งยืน” ที่คณะท�างานได้ด�าเนินการรวบรวมในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน
พ.ศ. 2๕๖๓ ที่ผ่านมา
๓. สถานการณ์ปัจจุบัน
๓.๑ ที่มาของอาหารและการเข้าถึงอาหาร
ที่มาและการเข้าถึงอาหาร สามารถแบ่งการพิจารณาอาหารออกเป็น ๕ มิติ ได้แก่ 1) มิติการซื้อขาย
2) มิติการผลิต ปลูกเลี้ยง ๓) มิติการเก็บหาอาหารจากฐานทรัพยากร ๔) มิติการแลกเปลี่ยนแบ่งปันและ
วัฒนธรรมชุมชน และ ๕) มิติด้านนโยบายรัฐ
๑) มิติการได้มาของอาหารบนฐานการซื้อ-ขาย ซึ่งเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของครัวเรือน ที่ต้อง
ใช้เงินในการซื้ออาหาร และสัมพันธ์กับรายได้ เงินออม ตลอดจนหนี้สินของครัวเรือน นักเศรษฐศาสตร์ได้
วิเคราะห์ว่า ผลกระทบทางลบจากการระบาดของโรคโควิด-19 นี้จะตกกับครอบครัวผู้ที่มีความไม่มั่นคงทาง
เศรษฐกิจ (Vulnerable Families) อย่างหนัก โดยเฉพาะคนจนเมืองที่ต้องท�างานหาเลี้ยงชีพวันต่อวัน ซึ่งคน
เหล่านี้จะต้องตกงาน สูญเสียรายได้ นอกจากนั้นจากงานส�ารวจสถานะการเงินของครัวเรือนเกษตรกร
โดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ พ.ศ. 2๕๖๓ พบว่า วิกฤติโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้
จากการรับจ้างทั้งในและนอกภาคเกษตรของครัวเรือนมากที่สุด และกระทบกว่า ๕๐% ของครัวเรือน
12% ของครัวเรือนมีรายได้จากเงินโอนลดลง ซึ่งส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากการมีญาติตกงานในต่างจังหวัด
ในขณะที่ 2๓% ของครัวเรือนได้รายได้ลดลงจากการท�าธุรกิจการค้า ดังนั้น รายได้ที่น้อยลงกับสัดส่วนการซื้อ
ที่คงเดิมหรือมากกว่าท�าให้การเข้าถึงอาหารในมิติการซื้อมีได้น้อยลงตามไปด้วย 12
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ 1๗