Page 27 - E-BOOK
P. 27

๕) เครือข่ายความมั่นทางอาหารมีข้อเสนอแบบเอกฉันท์ว่า ควรน้อมน�าหลักปรัชญา
             ของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เป็นทิศทางการสร้างความมั่นคง

             ทางอาหาร

                                   ๖) ควรมีมาตรการเพื่อน�าที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมาย
             แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1๓๐๔ ซึ่งบัญญัติเรื่องสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์
             หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ ฯลฯ น�ามาใช้

             เพื่อความมั่นคงทางอาหาร

                                   ๗) นโยบายหนุนเสริมการสร้าง “ความมั่นคงทางอาหารจากฐานของชุมชน” ให้ชุมชนเป็น
             แหล่งผลิตอาหาร  ระบบการแลกเปลี่ยนและการกระจายอาหารทั้งในสภาวะปกติและในภาวะวิกฤติ

             มีแนวทางจัดการพื้นที่ผลิตอาหารในระดับครอบครัว และระดับชุมชน  สร้าง “ตู้เย็นรอบบ้าน” สนับสนุน
             ให้เกิดธนาคารอาหารในชุมชน ทั้งชุมชนเมือง และชุมชนชนบท โดยมีรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องกับ
             ภูมิสังคมวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วยหลักการส�าคัญ คือ “สะสม หมุนเวียน เรียนรู้ และแบ่งปัน” โดยชุมชน
             ควรมี “แผนชุมชน ด้านความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤต” มีกฎ ระเบียบชุมชน ด้านความมั่นคงทาง
             อาหาร หรือก�าหนดธรรมนูญการใช้พื้นที่ร่วมเพื่อความมั่นคงทางอาหาร


                                   ๘) ควรก�าหนดมาตรการ นโยบายเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจอาหารและปัจจัยสี่
             ขนาดเล็กหรือในระดับเล็กๆ ที่มีการวางแผนในระดับท้องถิ่นเพื่อผลิตอาหาร และปัจจัยสี่ แปรรูปซื้อขาย
             กันในขอบเขตพื้นที่ที่ชัดเจน ในระดับชุมชน หมู่บ้าน/ต�าบล และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งขับเคลื่อนโดยกลไกของ
             ประชาชน ผู้ค้ารายย่อย ชุมชน ท้องถิ่น โดยมีมาตรการชดเชยต้นทุนด้านการขนส่ง ฯลฯ


                                   ๙) การส่งเสริมตลาดท้องถิ่น ตลาดชุมชนในทุกระดับ เช่น ตลาด “๔ ร” คือ โรงพยาบาล
             โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้านอาหาร โรงแรม การกระจายอาหารในหมู่บ้าน เช่น รถเร่ รถพุ่มพวง
             การกระจายโดยผู้ผลิตในชุมชนมีตลาดนัดชุมชน ตลาดนัดในโรงพยาบาล ตลาดเคลื่อนที่ ศูนย์การกระจาย

             วิสาหกิจ/กลุ่มผู้ผลิตในชุมชนท้องถิ่น มีตลาดชุมชนให้ครบทุกหมู่บ้าน การสร้างระบบการจัดการกระจาย
             อาหารในท้องถิ่นให้ได้ ส่งเสริมให้เกิดการผลิตในชุมชนมากขึ้น เพื่อลดการน�าเข้าอาหารจากที่อื่น และลด
             ระยะทางในการขนส่ง การส่งเสริมการขยายตลาดท้องถิ่นในการกระจายอาหารโดยตรงระหว่างเกษตรกร
             และผู้บริโภค และการพัฒนาระบบตลาดออนไลน์ในการเชื่อมโยงระบบอาหารระหว่างเมืองกับชนบทได้

             โดยตรง สามารถหนุนเสริมความมั่นคงทางอาหารได้อย่างพอเพียงและรวดเร็ว

                                   1๐) การเพิ่มทักษะ ความรู้ เพื่อรับมือยามวิกฤติ เช่น พื้นฐานด้านการผลิตอาหาร ถนอมอาหาร
             ให้ทุกคนต้องสร้างด้วยตนเอง ต้องรู้และเข้าใจกระบวนการปลูกได้ด้วยตนเอง การสร้างฐานความมั่งคง
             ทางอาหารในระดับครอบครัวและชุมชนด้วยการผลิตเพื่อบริโภคอย่างพอเพียง ทั้งในระดับบุคคลก็ปลูก

             ผักที่กินได้เอง ในระดับชุมชนก็สนับสนุนให้ภาคีปลูก และรับประทานทั้งโรงเรียนและในชุมชน การให้ความรู้
             เรื่องการถนอมอาหารในระยะยาว

                                   11) ชุมชนเมืองควรหนุนเสริมให้ปลูกพืชผักสวนครัวตามริมรั้วในกระถาง และภาชนะอื่นๆ

             ที่สามารถน�ามาปลูกพืชทดแทนการปลูกไม้ประดับในพื้นที่ที่มีความจ�ากัด ควรอนุญาตให้มีการน�าพื้นที่
             สาธารณะหรือที่รกร้างว่างเปล่าทั้งของหน่วยงานรัฐและเอกชนในชุมชนมาท�าประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่อง
             การเพาะปลูกเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับชุมชน และมีระบบในการบริหารจัดการที่ดี






                                                                            มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓  2๕
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32