Page 26 - E-BOOK
P. 26
ใช้ประโยชน์ หรือพื้นที่ที่จ�าเป็น มาใช้เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารรองรับสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น โดยอาศัย
บังคับใช้กฎหมายตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2๕๕1 ระบุไว้ใน มาตรา 12
ว่า “ในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ สาธารณภัย หรือการก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร อันเป็นภัยที่ร้ายแรง และ
ฉุกเฉินอย่างยิ่ง ให้นายกรัฐมนตรีโดยค�าแนะน�าของคณะกรรมการฯ และโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มีอ�านาจประกาศก�าหนดให้เขตพื้นที่ใดเป็นเขตพื้นที่ที่จ�าเป็นต้องสงวนไว้ เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงด้าน
อาหารเป็นการชั่วคราว”
๔) ควรใช้มาตรการน�าอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ส�ารองในสต๊อกที่ดูแลโดย
หน่วยงานต่าง ๆ เช่น ข้าวส�ารองที่จัดเก็บไว้เพื่อความมั่นคงออกมาใช้หรือแจกจ่ายเพื่อให้ประชาชนเปราะบาง
กลุ่ม เครือข่ายต่าง ๆ ได้บริโภคในช่วงที่เกิดวิกฤติ
๕) ด้านการจัดการ นโยบายของภาครัฐควรสนับสนุนให้หน่วยงานระดับกระทรวงมีการ
ท�างานแบบบูรณาการทั้งเชิงนโยบาย และภาคปฏิบัติ การวางแผนการแก้ไขปัญหา และการเชื่อมประสานแผนงาน
โครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดรูปธรรมในพื้นที่
๖) ควรด�าเนินการบริหารจัดการที่ให้ความส�าคัญต่อการมีส่วนร่วมของภาคส่วน กลุ่มคนใน
ชุมชนทุกขั้นตอน และใช้คุณธรรมในการด�าเนินงาน ให้ทุกคนมีความเอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นหลักใน
ทุก ๆ มิติ
๗) ควรกระจายอ�านาจการบริหารมาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อหน่วยงานจัดการ
ดูแลวิกฤติในพื้นที่ แก้ไขเรื่องอ�านาจหน้าที่ของท้องถิ่น และสนับสนุนงบประมาณให้ท้องถิ่น
๔.๒.๒ นโยบายระยะยาว
1) ควรปรับสาระในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 2๐ ปี
ตลอดจนถึงแผนปฏิรูปประเทศ ฯลฯ ให้มีเนื้อหาสาระและทิศทางหลักรองรับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหาร
ในภาวะวิกฤตเพื่อให้ต้นทางของการจัดท�าแผนงบประมาณของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ
2) ควรก�าหนดให้ความมั่นคงทางอาหารเป็นวาระแห่งชาติ ก�าหนดนโยบาย และ
มาตรการสนับสนุน และการหนุนเสริมความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ โดยแยกความมั่นคงทางอาหาร
ในภาวะปกติกับภาวะวิกฤต เพื่อให้เกิดระบบการผลิต การเข้าถึงอาหาร และระบบการกระจายอาหาร ฯลฯ
ทั้งนโยบายส่วนกลาง และในระดับภูมิภาค ท้องถิ่น รวมทั้งการจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนเพื่อรองรับ เช่น
การจัดตั้งเครือข่ายนักวิชาการพัฒนานวัตกรรมอาหาร เป็นต้น
๓) ต้องลดหรือยุติบทบาทภาครัฐในการเอื้อให้ธุรกิจอาหารและการกระจายอาหาร
สามารถผูกขาดและมีอิทธิพลในการก�าหนดความมั่นคงทางด้านอาหารในทุกสถานการณ์ ยกเลิกมาตรการ
ระเบียบ กฎหมายหรือนโยบาย ที่เอื้อต่อการผูกขาดธุรกิจอาหารและปัจจัยสี่ และให้มีการบังคับใช้ พ.ร.บ. การแข่งขัน
ทางการค้า พ.ศ. 2๕๖๐
๔) นโยบายรัฐกับความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตควรวางขอบเขต (scope) ที่จ�ากัดลงที่
การมีอาหารเพื่อด�ารงชีวิตในระยะเวลาสั้นๆ ในช่วงวิกฤตควรมีนโยบายและมาตรการที่รับประกันว่าประชาชน
ทุกคนจะกลุ่มใดก็ตามจะมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอตามความจ�าเป็นอย่างเท่าเทียมกัน โดยยกเว้น (overrule)
กฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อให้ประชาชนสามารถมีอาหารบริโภคอย่างเท่าเทียม เช่น การควบคุมราคาสินค้าอาหาร
การก�าหนดพื้นที่สงวนเพื่อการผลิตอาหารส�าหรับบริโภคภายในประเทศ ฯลฯ
2๔ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓