Page 20 - E-BOOK
P. 20
๒) มิติการผลิต ปลูก/เลี้ยง ซึ่งพบว่าผู้ที่อยู่บนฐานเกษตรได้รับผลกระทบด้านอาหารน้อยกว่า
กลุ่มที่อยู่บนฐานอื่นๆ เช่น การค้า ธุรกิจ การท่องเที่ยว เป็นต้น จากรายงานผลการส�ารวจ “ผลกระทบทาง
เศรษฐกิจ-สังคมของโควิด-19 ต่อครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยในชุมชนเกษตรกรรม” เก็บข้อมูลระหว่างวันที่
1๓
1๗-2๖ พฤษภาคม พ.ศ. 2๕๖๓ พบว่า ผลกระทบด้านอาหารการกินอยู่ ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อย
ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในมิติด้านอาหารการกินมากนัก เนื่องจากยังพออาศัยแหล่งอาหารจาก
แปลงการผลิตของครัวเรือน แหล่งอาหารจากฐานทรัพยากร และการพึ่งพาอาศัยกันในมิติวัฒนธรรมการ
แลกเปลี่ยนอาหารในชุมชน และยังสามารถซื้ออาหารได้จากแหล่งตลาดชุมชนที่หลากหลาย ทั้งตลาดเขียว หรือ
รถเร่/รถพุ่มพวง อย่างไรก็ตามแม้ฐานการผลิตมีความน่าสนใจในการปรับตัวเพื่อพึ่งตนเองและอยู่รอดได้ แต่ใน
บางพื้นที่ที่ต้องการท�าการผลิตแต่มีปัญหาเรื่องของปัจจัยการผลิตที่ดิน น�้า พันธุกรรม ที่ไม่พร้อมหรือข้อกฎหมาย
ที่ไม่เอื้อต่อสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดิน หรือในกรณีของพื้นที่เขตเมืองที่ถึงแม้จะมีพื้นที่รกร้างเหมาะกับการใช้
ประโยชน์ในการผลิตแต่อาจจะต้องติดในเรื่องของข้อกฎหมายต่าง ๆ หรือยังมีประเด็นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง
ของสถานการณ์ด้านการเกษตรของโลกและประเทศ เช่น เกษตรกรเข้าสู่วัยชราภาพท�าให้ต้องมีการส่งเสริมให้
เกิดเกษตรกรรุ่นใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องท�าการพัฒนาควบคู่กับ นวัตกรรมที่เหมาะสมด้านการเกษตร ซึ่งยังเป็นโจทย์
ท้าทายของภาคการผลิต
๓) มิติการเก็บหาอาหารจากฐานทรัพยากร ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ชายฝั่ง และทะเล
รวมทั้งพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ของชุมชน เป็นฐานทรัพยากรอาหารที่ส�าคัญของครัวเรือนในชุมชน ความอุดม
สมบูรณ์ของฐานทรัพยากรเหล่านี้จึงเป็นฐานความมั่นคงทางอาหารของชุมชน พบว่าชุมชนท้องถิ่นที่เคยพึ่งพา
ฐานทรัพยากรอาหารในระบบนิเวศต่าง ๆ ยังเข้าไม่ถึงฐานทรัพยากรอาหาร แม้จะมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
และมีมาตรการจากคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เพื่อผ่อนปรนการท�ากินของชุมชน แต่ก็ยังอยู่
ในสภาวะจ�ากัด ชุมชนอยู่ได้เพียงการยังชีพจากฐานทรัพยากร ไม่สามารถสร้างเศรษฐกิจอาหารจากฐาน
ทรัพยากรที่มั่นคงได้ ควรหรือไม่ที่จะมีนโยบายที่จะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติ
การให้สิทธิแก่ชุมชนในการจัดการทรัพยากรเหล่านี้ จะท�าให้เกิดการฟื้นฟู และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ
ในขณะเดียวกันครัวเรือนและชุมชนก็ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภค และเศรษฐกิจของครัวเรือน
๔) มิติการแลกเปลี่ยนแบ่งปัน มีตัวอย่างปฏิบัติการที่น่าสนใจ เพื่อบรรเทาเยียวยาการขาด
และไม่สามารถเข้าถึงอาหาร ได้เกิดแนวคิดการน�าตู้กับข้าวมาตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ แล้วบรรจุข้าวสารอาหารแห้ง
พร้อมตั้งชื่อว่า “ตู้ปันสุข” “ตู้แบ่งสุข” “ตู้เติมใจให้กัน” เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
หรือมีการแบ่งปันอย่างเป็นเครือข่าย ดังเช่น “กลุ่มปันอาหาร กลุ่มปันชีวิต” โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิ
เกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) ได้จัดกิจกรรมอาสาลงแปลงปลูก เพื่อปลูกผัก สร้างแหล่งอาหารส�ารองให้กับ
กลุ่มเปราะบางในเมือง โดยผลผลิตที่เก็บเกี่ยวจากแปลงทั้งหมดได้ส่งมอบให้กับกลุ่มคนเปราะบาง คนจนเมือง
ได้เข้าถึงอาหารที่ดี มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการส�าหรับการเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤต หรือการริเริ่มธนาคาร
อาหาร “ปันอิ่ม” โดยได้ท�าอาหารปรุงส�าเร็จแจกจ่ายชุมชนโรงคราม และชุมชนบุปผาราม พื้นที่ กทม. ในช่วง
เริ่มต้นของวิกฤตโรคโควิด-19 โดยมีการรับบริจาควัตถุดิบ ข้าวสารอาหารแห้ง และเงิน มีการสนับสนุนด้าน
วัตถุดิบจากเครือข่ายเกษตรกรในภาคต่าง ๆ และอีกตัวอย่างที่เป็นการแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้ามภูมินิเวศ อาทิ
ข้าวชาวนาแลกปลาชาวเล เป็นปรากฏการณ์ ชาวเลพังงา-ภูเก็ต ส่งปลาทะเลตากแห้งขึ้นเครื่องซี-1๓๐ แลก
ข้าวสารชาวนาจังหวัดยโสธร ร่วมฝ่าวิกฤตโรคโควิด-19 ไปด้วยกัน หรือเครือข่ายชุมชนกะเหรี่ยงภาคเหนือ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่ น�าข้าวที่รวบรวมได้จากชาวบ้านบนดอยต่าง ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก ๗ ตัน
ขึ้นรถบรรทุกเพื่อเดินทางไปมอบให้ชาวเลในชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต เป็นปรากฏการณ์การแบ่งปันที่เป็นการตื่น
ตัวของประชาชนในระดับพื้นที่และยังมีอีกหลายกรณีที่สื่อมีการน�าเสนอ
1๘ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓