Page 17 - E-BOOK
P. 17

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓                                                สมัชชาสุขภาพ ๑๓ / หลัก ๓
             ระเบียบวาระที่ ๒.๑                                                                            ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๓




                                          ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต


                                             (Food Security in Crises)





             ๑. นิยามและค�าจ�ากัดความ

                     ความมั่นคงทางอาหาร หมายถึง สถานการณ์ที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีอย่าง
             เพียงพอส�าหรับการบริโภค มีความปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมตามความต้องการทางสุขภาพ
 ขาวสาร     และทางวัฒนธรรม เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้ง การมีระบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบ

 ข
             นิเวศวิทยา และความคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติ ทั้งในภาวะปกติหรือเกิดภัยพิบัติ สาธารณภัย
 
 MILK  MILK
 า
 ว
 ส
 า
             หรือการก่อการร้ายอันเกี่ยวเนื่องจากอาหาร (ปรับปรุงและเพิ่มเติมจากนิยาม “ความมั่นคงด้านอาหาร” ใน
 ร
             มาตรา ๓ ของ พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2๕๕1        1
                     วิกฤตสุขภาพ หมายถึง ภาวะทางสุขภาพ ทั้ง ๔ มิติที่ไม่อยู่ในภาวะปกติ อาจเกิดจากธรรมชาติหรือ
             ไม่ก็ได้ เป็นเหตุการณ์ที่มีอยู่ในภาวะอันตราย ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม โดยรวม
             ที่ควรต้องมีนโยบาย หรือการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาภายในเวลาที่จ�ากัด 2
                     ประชากรเปราะบาง (ในมิติของความมั่นคงทางอาหาร) หมายถึง กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะ

             ได้รับอันตรายต่อสุขภาพจากการไม่มีความมั่นคงทางอาหาร เนื่องด้วยสถานะทางสุขภาพ สถานะทางเศรษฐกิจ
             หรือบริบททางสังคม ที่ท�าให้ไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงหรือสถานการณ์ที่กระทบกับความมั่นคงทางอาหาร
             ของพวกเขาได้ (อ้างอิงจาก นิยามศัพท์ “กลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง” (vulnerable groups) ในธรรมนูญว่า
                                                         ๓
             ด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2๕๕๙

                     ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน และมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเป็นปกติและ
             ต่อเนื่อง โดยเหตุที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน หรือมีอาชีพเดียวกัน หรือประกอบกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์
             ร่วมกัน หรือมีวัฒนธรรม ความเชื่อหรือความสนใจร่วมกัน (นิยามใน พรฎ.จัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
             (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2๕๔๓ อ้างอิงใน ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2๕๕๙    ๓


                     สิทธิในอาหาร (Right to Food) หมายถึง สิทธิของมนุษย์ทุกคนที่จะมีความมั่นคงทางอาหารและ
             รอดพ้นจากภาวะความอดอยากหิวโหย      ๔

             ๒. ความส�าคัญของประเด็น

                     อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่เป็นพื้นฐานของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ “ความมั่นคงทางอาหาร”

             ของคนทุกคนในสังคม จึงถูกจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทุกประเทศต้องให้ความส�าคัญในฐานะส่วนหนึ่งของ
                                  ๕
             เป้าหมายในการพัฒนา  และได้รับการบรรจุเป็นประเด็นหลักอย่างหนึ่งใน เป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน
             (Sustainable Development Goals: SDGs) ดังปรากฏในเป้าหมายที่ 2 “การขจัดความหิวโหย บรรลุความมั่นคง

             ทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน” รวมถึงเป้าหมายที่ 1 “การขจัดความยากจน” ๖


                                                                            มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓  1๕
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22