Page 53 - E-BOOK
P. 53

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตและส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อเพิ่ม
             ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่และลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์จากการสัมผัสและอยู่ใกล้ผู้ป่วย

             เป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยน�ามาใช้ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโรคโควิด 19 และติดตามอาการกลุ่ม
             ผู้ถูกเฝ้าระวัง สามารถปรึกษาทางไกลผ่านระบบ Tele-medicine ได้ และแอปพลิเคชั่น ได้แก่ Self D-care
             Heat map ที่เป็นแอปพลิเคชั่นของระบบติดตามพิกัดของผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อในช่วงระยะเวลา 1๔ วันย้อนหลัง
             สามารถบันทึกข้อมูลการรักษาและการตรวจร่างกายเพื่อให้แพทย์ใช้ในการเฝ้าดูและติดตามผลการรักษาได้ด้วย

             แอปพลิเคชั่นใกล้มือหมอจากทางส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่สามารถตรวจสอบอาการ
             เบื้องต้นโดยที่ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง และแอปพลิเคชั่นแทนคุณ แอปศูนย์รวมบริการส�าหรับ
             ผู้สูงอายุที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน โดยบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากยังสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น
             COVID Tracker ที่เป็นแพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลแบบ Real Time บนเว็บไซต์ covidtracker.5lab.co โดยเว็บไซต์

             จะรวบรวมข้อมูลส�าคัญเกี่ยวกับโควิด 19 เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตาม และอัปเดตสถานการณ์ได้จากทุก
             ที่ทุกเวลา และไทยชนะ คือแพลตฟอร์มส�าหรับการจัดระเบียบความหนาแน่นของผู้ใช้บริการร้านค้าต่าง ๆ เพื่อ
                                                         12
             ติดตามควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19  และส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีความ
             ร่วมมือกับทางไปรษณีย์ไทยด�าเนินการส่งยาให้ผู้ป่วยเรื้อรังทั่วประเทศ  เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล

             และลดเสี่ยงการแพร่ระบาดโรคโควิด 19

                     นอกจากนี้ผลกระทบทางบวกเมื่อเกิดโรคระบาดใหญ่ พบว่าสภาพแวดล้อมทางทะเล ป่าไม้ ทรัพยากร
             ทางธรรมชาติได้มีระยะเวลาฟื้นฟู ลดความแออัดของการจราจร การเกิดอุบัติเหตุและอาชญากรรมลดลง มีการ
             พัฒนาอย่างรวดเร็วก้าวกระโดดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้าน

             การแพทย์และสาธารณสุข การปรับตัวและการเกิดธุรกิจใหม่ๆ มีช่องทางการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น มีการวิจัยใน
             มิติและมุมมองต่าง ๆ หลากหลายเพิ่มมากขึ้น ประชาชนมีความตระหนักถึงการระบาดของโรค ท�าให้มีการดูแล
             สุขภาพเพิ่มมากขึ้น ชุมชนสังคมเกิดการรวมพลังและแบ่งปันกันมากขึ้น ส�าหรับในสถานศึกษามีการพัฒนาระบบ
             การเรียนรู้และศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และ

             รวดเร็ว  มีการน�าเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน  และการจัดกระบวนการเรียนรู้
             เปิดโลกทัศน์การเรียนในห้องเรียนเป็นการเรียนรู้จากทุกที่ ในส่วนของชุมชนสังคมเกิดการรวมพลังและแบ่งปัน
             กันมากขึ้น ที่ท�าให้เกิดเป็นระบบจัดการแบบยืดหยุ่นในภายในชุมชนนั้น ๆ ที่มีการช่วยเหลือ แบ่งปัน การดูแล
             ซึ่งกันและกันและเกิดการท�าข้อตกลงในการปฏิบัติร่วมกัน ก่อให้เกิดวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ หรือ New Normal


             ๓. การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่

                     การมีสุขภาวะในการด�ารงชีวิต เป็น 1 ใน 1๗ เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ทุกประเทศต้อง
                          1๓
             ให้ความส�าคัญ

                     “วิกฤตสุขภาพ” หมายถึง ภาวะทางสุขภาพในมิติกาย จิต สังคม และปัญญา ที่ไม่อยู่ในภาวะปกติ
             อาจเกิดจากธรรมชาติหรือไม่ก็ได้ เป็นเหตุการณ์ที่มีอยู่ในภาวะอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ
             สังคม หรือสิ่งแวดล้อมโดยรวม ที่ควรต้องมีนโยบายหรือการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาภายในเวลาที่จ�ากัด

                     “การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม” หมายถึง การบริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

             กับการจัดการวิกฤตสุขภาพจากโรคระบาดใหญ่ ได้เข้ามาช่วยคิดตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมท�างาน ผูกมัดและ
             ตกลงใจร่วมกันในการบริหารประเทศ ชุมชน สังคม ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “ประชาชนทุกคนบน
             ผืนแผ่นดินไทยมีสุขภาวะที่ดี”





                                                                            มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓  ๕1
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58