Page 48 - E-BOOK
P. 48

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๓                                                 สมัชชาสุขภาพ ๑๓ / หลัก ๔
            ระเบียบวาระที่ ๒.๒                                                                            ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๓






                         การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่


                       (Participatory health crisis management for pandemics)





            ๑. สถานการณ์โรคระบาดใหญ่

                    โรคระบาดใหญ่ (Pandemic) ส่วนใหญ่เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่มีการระบาดทั่วโลก มีแนวโน้มความถี่
            และความรุนแรงขึ้น ดังภาพที่ 1












                                    ภาพที่ 1 : การเกิดโรคระบาดใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2๕๐๐-ปัจจุบัน
                                        หมายเหตุ *สีเข้มเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เป็นโรคระบาดใหญ่




                    โรคระบาดใหญ่ครั้งล่าสุด คือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เป็นโรคติดเชื้อในระบบ

            ทางเดินหายใจ พบผู้ป่วยยืนยันครั้งแรกตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2๕๖2 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การ
            ระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. 2๕๖๓ และได้ประกาศให้
                                                                        1
            โรคโควิด 19 เป็นโรคระบาดใหญ่ ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2๕๖๓  เนื่องจากมีจ�านวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต
                                                                                                  2
            เพิ่มขึ้นเป็นจ�านวนมากอย่างรวดเร็ว กระจายไปยังทุกภูมิภาคของโลก จ�านวน 21๕ ประเทศ  มีผู้ป่วย
            ไม่น้อยกว่า ๓๔.๕ ล้านคน เสียชีวิตแล้วกว่า 1.๐๓ ล้านคนทั่วโลก อัตราการเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ ๓
            ส�าหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยจ�านวน ๓,๕๗๕ คน เสียชีวิต ๕๙ คน (ข้อมูล ณ.วันที่ 2 ตุลาคม 2๕๖๓)
                                                ๓
            อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 1.๗  ระดับความรุนแรงของโรครวมถึงอาการมีความหลากหลายตั้งแต่
            การติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ อาการเหมือนไข้หวัดทั่วไป เหนื่อยหอบ หายใจล�าบากจนถึงมีอาการรุนแรง

            ปอดอักเสบและเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีโรคประจ�าตัว ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและ
            ในผู้สูงอายุจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาการจะเพิ่มความรุนแรงกว่าคนทั่วไป ๔

                    นอกจากนี้ยังพบข้อมูลการประมาณการตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมีแนวโน้มจะสูงขึ้นทั่วโลก
            เนื่องจากวิกฤติโรคระบาดใหญ่ “โรคโควิด 19” ในประเทศไทยพบว่าอัตราการฆ่าตัวตายส�าเร็จเพิ่มขึ้นจาก
            พ.ศ. 2๕๖2 เท่ากับ ๖.๓2 ต่อประชากรแสนคน เป็น ๖.๖๔ ต่อประชากรแสนคน          ๕

                    อนาคตประเทศไทยมีโอกาสเผชิญกับโรคระบาดใหญ่อื่น ๆ ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่ชัดว่า

            จะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ และสถานการณ์ระบาดใหญ่โรคโควิด 19 จะสิ้นสุดลงเมื่อใด


            ๔๖     มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53