Page 56 - E-BOOK
P. 56

ทางเลือก (Alternative State Quarantine) ซึ่งเป็นสถานที่กักกันผู้เดินทางทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทาง
            เข้ามาราชอาณาจักรไทยในทุกช่องทางการเดินทาง โดยใช้สถานประกอบการธุรกิจโรงแรม หรือสถานที่ที่รัฐโดย

            ยินยอมช�าระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดระหว่างกักกันตนโดยสมัครใจ

                    (๕) มาตรการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมส�าหรับการขนส่งสาธารณะ ด้าน
            อนามัยสิ่งแวดล้อมส�าหรับคอนโดมิเนียมและอาคารที่พักอาศัย ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมส�าหรับศาสนสถาน
            (วัด โบสถ์ มัสยิด ศาลเจ้า และ สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอื่น ๆ) ด้านสุขอนามัยส�าหรับร้านอาหาร

            ด้านสุขอนามัยในตลาดสด ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมส�าหรับอาคารสาธารณะ สถานที่ราชการ สถานที่ท�างาน
            เอกชนและสถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมส�าหรับเรือนจ�า
            ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมส�าหรับโรงมหรสพ การจัดการขยะหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว  1๘

                    (๖) มาตรการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ เน้นการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เพื่อป้องกันและลดการ

            แพร่เชื้อโรคโควิด 19 ด้วยหลักการ ๓ ล. “ลด เลี่ยง ดูแล” ได้แก่ ลดสัมผัส เช่น การณรงค์ให้สวมใส่หน้ากาก
            อนามัย ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน�้า หรือเจลแอลกอฮอล์ เลี่ยงจุดเสี่ยง Social Distancing ดูแลสุขภาพ
            ตนเองและสังคม เช่น ไม่ใช้ของร่วมกัน การใช้ช้อนกลาง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อและการรับเชื้อเข้าสู่
                    1๘
            ร่างกาย  ทั้งนี้ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส�านักงานประกันสังคม ได้ให้การสนับสนุนการตรวจ
            หาเชื้อในผู้ที่มีความเสี่ยงและการรักษาผู้ป่วยด้วย ขณะที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
            ไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการทรัพยากรทางการแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ที่
            ขาดแคลน เช่น หน้ากากอนามัย ชุดป้องกันการติดเชื้อ เป็นต้น

                    (๗) มาตรการการดูแลด้านสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตได้จัดท�าแผนการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์

            การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรคโควิด 19 ปี 2๕๖๓-2๕๖๔ มุ่งเน้นการลดผลกระทบทางสุขภาพจิตของ
            บุคลากร สาธารณสุขและประชาชน และเพิ่มศักยภาพทางจิตใจในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชนให้มี
            ภูมิคุ้มกันทางใจ 1๙

                    (๘) มาตรการด้านกฎหมาย อาทิ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2๕๕๘ พระราชก�าหนดการบริหาร

            ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2๕๕๘ ซึ่งในสถานการณ์โรคโควิด 19 พระราชก�าหนดการบริหารราชการ
            ในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ มีบทบาทอย่างมากในการก�ากับดูแลหรือออกค�าสั่งที่เป็นภาพรวมของประเทศ
            ซึ่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อฯ ยังมีความสมบูรณ์ไม่เพียงพอที่จะป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของ

            โรคโควิด 19 ได้ อีกทั้งการประกาศใช้พระราชก�าหนดการบริหารราชการฯ เป็นระยะเวลานาน

                    (๙) การจัดตั้งกลไกกลางระดับชาติ ในการบริหารจัดการโรคระบาดใหญ่โรคโควิด 19 โดยคณะรัฐมนตรี
            มีมติมอบหมายให้ส�านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
            ไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) หรือ ศบค. มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า เพื่อท�าหน้าที่ก�าหนดนโยบายและ

            มาตรการเร่งด่วนในการบริหารสถานการณ์ โดยให้คณะกรรมการอ�านวยการเตรียมความพร้อม ป้องกันและ
            แก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ และศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
            ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ ศบค.

                    (1๐) แนวทางการปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน โดยแบ่งตามกลยุทธ์ ๖ ด้านของกรมควบคุมโรค

            กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ 1.การคัดกรองและเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ด่าน สถานพยาบาลและชุมชน 2.การดูแล
            รักษาผู้ป่วยและป้องกันการติดเชื้อ ๓.การติดตามผู้สัมผัสโรคและการควบคุมการระบาดในชุมชน ๔.การสื่อสาร
            ความเสี่ยง ๕.การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย และ ๖.การประสานงานและจัดการข้อมูล




            ๕๔     มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61