Page 55 - E-BOOK
P. 55

ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดใหญ่จะทบทวนเรื่องสุขภาพและความไม่เท่าเทียม รวมถึงการออกแบบเมืองเพื่อ

             รองรับวิกฤตสุขภาพจากโรคระบาดใหญ่ในอนาคต

                     โรคระบาดใหญ่โรคโควิด 19 ท�าให้เห็นการบริหารจัดการในระดับชาติ องค์กร และชุมชน ซึ่งมาตรการ
             จากการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพได้ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อประชาชนในประเทศ เช่น มาตรการ
             ปิดเมือง ระงับการเดินทาง การด�าเนินกิจการและกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ที่ท�าให้คนจ�านวนมากขาดรายได้

             การกระจายอาหารติดขัด และได้รับผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดใหญ่ทั่วโลก
             การสูญเสียแหล่งรายได้จากการท่องเที่ยวและการค้าระหว่างประเทศหยุดชะงักลง ในการก�าหนดและ
             ด�าเนินงานมาตรการที่หลากหลาย ทั้งในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับพื้นที่ โดยสรุป ดังนี้

                     (1) มาตรการรายงานสถานการณ์ข้อมูลผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายวันเพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการ

             ระบาด โดยองค์การอนามัยโลกมีมาตรการให้ประเทศต่าง ๆ รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก
             โรคโควิด 19 อย่าง “เปิดเผยและโปร่งใส” ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 ไม่น้อยกว่า 2๘ ล้านคน
             และเสียชีวิตอย่างน้อย ๙1๕,๐๐๐ คน ส�าหรับในประเทศไทยมีการรายงานสถานการณ์ โรคโควิด 19 ให้
             ประชาชนทราบทุกวัน ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อจ�านวน ๓,๔๖1 ราย และเสียชีวิตจ�านวน ๕๘ ราย (ข้อมูล ณ วัน

             ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2๕๖๓)  1๗

                     (2) มาตรการล็อกดาวน์ (Lockdown) ทั้งในระดับชาติและเฉพาะพื้นที่ ส่งผลให้คนจ�านวนมากต้อง
             กักตัวในบ้าน เกิดวิถีชีวิตใหม่จากมาตรการล็อกดาวน์ การท�างานที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ ไม่สามารถไปที่
             สาธารณะ หรือในสถานที่แออัดที่มีคนจ�านวนมาก ต้องมีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม


                     (๓) มาตรการด้านการสื่อสารความเสี่ยงที่ทันเวลา ทันสถานการณ์ และเป็นระบบ สอดคล้องกับ
             สถานการณ์  ดังจะเห็นการรายงานข้อมูลสถานการณ์จ�านวนผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องเป็นประจ�าทุกวัน
             และการสื่อสารอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายจะช่วยลดความเข้าใจผิด
             ลดความวิตกกังวล ลดความตื่นตระหนก รวมทั้งเสริมสร้างให้ประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันควบคุมโรคที่

             ถูกต้องได้ ทั้งยังเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ลดความตื่นตระหนก และสร้างพฤติกรรมในการป้องกัน
             ควบคุมการระบาดของโรคและภัยสุขภาพ โดยค�านึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม
             และเศรษฐกิจทั้งต่อประชาชนเองและประเทศชาติ รวมทั้งการรับฟังประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบ

             ในภาวะฉุกเฉินประชาชนมีสิทธิที่จะรู้การปกป้องตัวเองจากความเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิต และต้องได้รับ
             ข้อมูลส�าหรับใช้ในการตัดสินใจปฏิบัติ เพื่อปกป้องตนเอง บุคคลที่รัก และคนที่อยู่รอบ ๆ จากการเจ็บ
             ป่วยและสูญเสียจากความเสี่ยง ประสิทธิภาพของการสื่อสารความเสี่ยงไม่ใช่เพียงรักษาชีวิตและลดการ
             เจ็บป่วย  แต่ยังสามารถลดผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคม  เศรษฐกิจ  และนโยบายในระหว่าง
             ภาวะฉุกเฉินนั้น  ๆ  ได้  นอกจากนี้ยังจ�าเป็นต้องสื่อสารสร้างความรอบรู้ให้ประชาชนด้วยข้อมูลที่

             เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้จริง เพื่อลดความตื่นตระหนก

                     (๔) มาตรการตรวจคัดกรอง แยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค
             จากผู้เดินทางซึ่งมาจากท้องที่หรือเมืองท่านอกราชอาณาจักร มาตรการกักตัว ในผู้ที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ

             และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศซึ่งจ�าเป็นต้องมีมาตรการควบคุมการกักตัวอย่างเข้มงวดเพื่อการเฝ้าระวัง
             ป้องกัน และควบคุมโรคโรคโควิด 19 เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1๔ วัน ตามหลักเกณฑ์แนวทางที่รัฐก�าหนด
             เช่น การกักตัวที่บ้าน (Home Quarantine) การกักตัวในพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐระดับจังหวัด (Local Quarantine)
             การกักตัวในพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐระดับประเทศ (State Quarantine) และการกักตัวในพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ





                                                                            มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓  ๕๓
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60