Page 54 - E-BOOK
P. 54

“โรคระบาดใหญ่” หมายถึง การระบาดของโรคที่เกิดขึ้นทั่วโลก หรือในพื้นที่เป็นวงกว้างข้ามเขตแดน
            ระหว่างประเทศ มักไม่เคยพบมาก่อนในมนุษย์ เช่น โรคโควิด 19 สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ แต่ยังไม่มี
                                            1๔
            หลักฐานยืนยันแหล่งก�าเนิดของโรค  แต่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าโรคระบาดใหญ่ มักมีต้นก�าเนิดมา
            จากสัตว์ เช่น โรคเมอร์สเกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มโคโรนาไวรัสที่มีต้นก�าเนิดจากค้างคาวและแพร่ไปสู่อูฐก่อน
                       1๕
            มายังมนุษย์  โรคซาร์สเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีต้นก�าเนิดจากค้างคาวโดยผ่านสัตว์ตัวกลาง เช่น ชะมด
                              1๖
            และแพร่มายังมนุษย์  เป็นต้น

                    การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพจากโรคระบาดใหญ่

                    การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพ  ในระยะแรกของการเกิดโรคระบาดใหญ่  ประเทศไทยได้ใช้
            พระราชบัญญัติโรคติดต่อ  พ.ศ.  2๕๕๘  เพื่อการเฝ้าระวังควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ  ซึ่งมี

            คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการ และกระจาย
            อ�านาจในการจัดการระดับพื้นที่ มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ
            แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โรคระบาดใหญ่โรคโควิด 19 ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศยังอยู่ในภาวะ
            วิกฤต จ�าเป็นต้องอาศัยอ�านาจตามกฎหมายในเชิงป้องกัน อาทิ การควบคุมการเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร
            การจัดท�าระบบติดตามตัว การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคที่ครอบคลุมทุกกิจการกิจกรรม รัฐบาลจึงได้ประกาศ

            สถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชก�าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และจัดตั้งศูนย์บริหาร
            สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โรคโควิด 19) หรือ ศบค. โดยมีนายกรัฐมนตรี
            เป็นผู้อ�านวยการศูนย์ จัดให้มีโครงสร้างของ ศบค. เพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ในการด�าเนินการแก้ไข

            สถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) ส�านักงานเลขาธิการ มีรองเลขาธิการนายก
            รัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นหัวหน้าส�านักงาน 2) ส�านักงานประสานงานกลาง
            ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นหัวหน้าส�านักงาน ๓) ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และ
            สาธารณสุข ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวหน้าศูนย์ ๔) ศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและ
            ช่วยเหลือประชาชน ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ ๕) ศูนย์ปฏิบัติการกระจายหน้ากากและ

            เวชภัณฑ์ส�าหรับประชาชน ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ ๖) ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมสินค้า
            ให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าศูนย์ ๗) ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการเดินทางเข้า-ออกประเทศ และดูแลคนไทยใน
            ต่างประเทศ  ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าศูนย์  ๘)  ศูนย์ปฏิบัติการด้านการสื่อสาร

            โทรคมนาคมและสื่อสังคมออนไลน์  ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  เป็นหัวหน้าศูนย์
            ๙) ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าศูนย์ และ
            1๐) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข้อมูล มาตรการแก้ไขปัญหาจากติดเชื้อโรคโควิด 19 ให้ปลัดส�านักนายกรัฐนตรีเป็น
            หัวหน้าศูนย์ ซึ่งทั้ง 1๐ ศูนย์จะต้องรายงานให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อ�านวยการศูนย์ได้รับทราบ โดย ศบค.
            ได้มีการรายงานสถานการณ์การติดเชื้อโรคโควิด 19 ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องทุกวันเพื่อให้

            ประชาชนเกิดความร่วมมือในการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาด และลดความตระหนกต่อการระบาด รวมถึง
            ชี้แจงมาตรการต่าง ๆ ที่ทางรัฐบาลได้ด�าเนินการ

                    นอกจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว ประเทศไทยยังมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้าน (อสม.) กว่า
            1 ล้านคนและพระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจ�าวัด (อสว.) เป็นก�าลังส�าคัญในการช่วยภาครัฐรับมือโรค

            ระบาดใหญ่โรคโควิด 19 เกิดเป็นภาพความร่วมมือของภาครัฐและภาคประชาสังคมในหลายเรื่อง ได้แก่ การมี
            ส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องนโยบายสาธารณะในระดับชุมชน การดูแลซึ่งกันละกันในสังคม  จึงเป็นโอกาส
            ส�าคัญของภาครัฐและประชาชนที่จะช่วยกันวางมาตรการทางสังคมที่จะรับมือกับการแพร่ระบาด เป็นโอกาส





            ๕2     มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59