Page 51 - E-BOOK
P. 51
เกิดความตื่นตระหนก ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนหรือไม่ถูกต้องแม่นย�า ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงในสังคม
(Social Destabilization) ท�าให้ประชาชนสับสน ปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง เกิดเป็นค�าถาม ความไม่เชื่อมั่นต่อข้อมูล
ข่าวสาร และการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นจริงผนวกกับความวิตกกังวลท�าให้เกิดการกักตุนสินค้าอุปโภคและ
บริโภค ท�าให้สินค้าสินค้าอุปโภคและบริโภคบางประเภทขาดแคลนและราคาสูงขึ้น ขณะเดียวกันในด้านของผู้
ออกนโยบายเอง ก็ต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อจัดท�านโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการบริหารจัดการควบคุม
การแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกเหนือไปจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้การรับมือกับโรคระบาดใหญ่
กรณีโรคโควิด 19 คือ ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ดังจะเห็นได้ว่าช่วงเวลาที่มีการระบาดหนักเป็นระยะเวลา
กว่า ๔ เดือนที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเผชิญกับการระบาดของเชื้อโรคโควิด 19 ท�าให้วิถีชีวิตปกติของผู้คน
นับล้านต้องหยุดชะงัก ซึ่งเปิดเผย “ช่องโหว่” ของระบบสาธารณสุขที่ไม่พร้อมต่อการรับมือโรคระบาดใหญ่
ไต้หวันเป็นประเทศที่มีการใช้ Big Data เข้ามาช่วยความเตรียมพร้อมและเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือโรค
ระบาดได้ ผนวกกับระบบสาธารณสุขไต้หวันมีบริบทส�าคัญที่เอื้อต่อการรับมือโรคระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ
นั่นคือ การมี “ระบบสุขภาพกองทุนเดียว” ภายใต้ “โครงการประกันสุขภาพแห่งชาติ (National Health Insurance)”
หรือ NHI ที่ให้สิทธิ์การรักษาพยาบาลกับประชากรครอบคลุมมากกว่าร้อยละ ๙๙.๙ โดยรัฐบาลเป็นผู้ออก
ค่ารักษาให้เป็นหลัก ข้อได้เปรียบของระบบสุขภาพกองทุนเดียว คือ ข้อมูลด้านสุขภาพของประชากรทั้งหมดจะ
รวมอยู่ใน Big Data ถังเดียว และสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลจากหน่วยงานอื่น ๆ เช่น ส�านักงานตรวจคนเข้า
เมือง (National Immigration Agency) ท�าให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสามารถเห็นประวัติการเดินทางของผู้ป่วย
นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อข้อมูลประวัติการสัมผัสโรคของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลและคลินิก
ทั่วประเทศ โดยกระบวนการปกติผู้ที่ต้องการขอรับบริการจากโรงพยาบาลต้องลงทะเบียนขอเข้าพบแพทย์ใน
ระบบคอมพิวเตอร์ก่อน ท�าให้แพทย์เห็นประวัติผู้ป่วยแต่เนิ่น ๆ ก่อนเข้ามารับการตรวจที่โรงพยาบาล ในขณะ
เดียวกันส�านักงานต�ารวจแห่งชาติใช้ระบบติดตามสถานที่จากมือถือ ในการตรวจตราว่าผู้ที่ต้องกักตัว อยู่ในที่
กักตัวตลอดหรือไม่ หากออกจากที่กักตัวระบบจะแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานรัฐ ประเทศไต้หวันจึงเป็นตัวอย่าง
11
หนึ่งของการใช้ระบบเทคโนโลยีสื่อสาร ในการป้องกันโรคระบาดและควบคุมสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม
ประเทศไทยยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นระบบระเบียบที่เอื้อต่อการจัดการเกี่ยวกับโรคระบาด
ด้วยทรัพยากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีอยู่อย่างจ�ากัด ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการ
และความเท่าเทียมของ “กลุ่มคนเปราะบาง” เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นคนไทยที่
รอกระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ของรัฐไทย และกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือต่าง ๆ
จากหน่วยงานของรัฐบาลหรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากไม่มีสถานะบุคคล ไม่มีบัตรประชาชน
นอกจากนี้ยังกระทบต่อกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาที่สถานพยาบาลได้ปกติเช่นเดิม ท�าให้
ไม่สามารถควบคุมอาการเกิดความรุนแรงของโรคขึ้นอย่างรวดเร็ว และผู้ป่วยที่ติดบ้านติดเตียงที่ได้รับ
การดูแลรักษาอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
โรคระบาดใหญ่ส่งผลกระทบต่อการสูญเสียรายได้ ท�าให้กลุ่มคนที่มีความเปราะบางในสังคมและ
หลายครอบครัวมีรายได้ต�่ากว่าเส้นความยากจน สภาพเศรษฐกิจจะตกอยู่ในความเสี่ยง กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
หยุดชะงัก รายได้น้อยลง เวลาท�างานลดลง บางอาชีพตกงาน เกิดปัญหาในการผลิตและการกระจายอาหาร
ผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของคนทั่วไปและคนท�างานสาธารณสุขก็มีโอกาสได้รับความเสี่ยงมาก
การตอบสนองของระบบดูแลสุขภาพและสมรรถภาพต�่าลง หลายโรงเรียน / สถาบันการศึกษาถูกปิด
การเรียนทางไกลอาจท�าให้การเรียนมีประสิทธิภาพลดลงและนักเรียนบางคนไม่สามารถเข้าถึงการ
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ ๔๙