Page 49 - E-BOOK
P. 49

๒. ผลกระทบจากโรคระบาดใหญ่

                     ในช่วงระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 ประเทศไทยได้ประสบปัญหาเรื่องข้อจ�ากัดชุดตรวจ ‘โรคโควิด 19’

             ที่กล่าวได้ว่า “เร็วตอนตรวจแต่วินิจฉัยโรคได้ช้า” ในเดือนมีนาคม 2๕๖๓ ซึ่งเป็นช่วงแรกที่เริ่มมีการระบาด
             ในประเทศไทย ข้อจ�ากัดชุดตรวจ Rapid Test ต้องรอ ๕-1๐ วันหลังรับเชื้อกว่าภูมิคุ้มกันจะขึ้น ท�าให้ผล
             ตรวจในระยะต้นหลังเสี่ยงอาจเป็น “ลบ”  ในขณะนั้นมีวิธีการตรวจในห้องปฏิบัติการหลักๆ อยู่ 2 อย่าง
             คือ (1) ตรวจหาเชื้อไวรัสโดยตรง ซึ่งขณะนี้วิธีการตรวจที่ไวที่สุดคือ “การตรวจสารพันธุกรรม” (RT- PCR)

             เป็นวิธีการหลักในการวินิจฉัยในปัจจุบัน และเป็นวิธีการที่องค์การอนามัยโลกแนะน�า เพราะตรวจแล้ว
             ยืนยันผลได้ไวที่สุดและสามารถตรวจหาเชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการน้อย ๆ ซึ่งต้องมีการสั่งซื้อจากประเทศ
             จีนในขณะนั้น และวิธีที่ (2) คือตรวจโดยชุดตรวจ Rapid Test ซึ่งในขณะนั้นเป็นประเด็นที่คนสงสัยมาก
             แปลตรงตัวคือการตรวจแบบเร็ว ใช้เวลาประมาณ ๕ - 1๕ นาที โดยชุดตรวจ Rapid Test ที่เป็นการตรวจ

             หาภูมิคุ้มกัน กล่าวคือเมื่อร่างกายได้รับเชื้อเข้าไป จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรค ซึ่งจะใช้เวลา
             หลังจากรับเชื้อประมาณ ๕-๗ วัน ฉะนั้น การตรวจแบบนี้จะได้ผลเป็นบวกหรือลบ ต้องตรวจหลังรับเชื้อ
             ๕-1๐ วันขึ้นไป กว่าจะรู้ผลยืนยันว่าติดเชื้อหรือไม่ต้องใช้เวลากว่า 1๐ วัน ที่ส�าคัญหากไปตรวจหลังเสี่ยง
             รับเชื้อวันที่ 1 หรือ ๓ เมื่อได้ผลเป็นลบก็ยังยืนยันไม่ได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ ดังนั้น การตรวจด้วยอุปกรณ์นี้

             ช่วงเวลาการตรวจจึงมีความส�าคัญ ส่วนที่เร็วคือขั้นตอนการตรวจใช้เวลาแค่ ๕ นาทีเสร็จ แต่ในแง่ของ
                                                                                    ๖
             การวินิจฉัยโรคถือว่าช้า จึงกล่าวได้ว่า “เร็วตอนตรวจแต่วินิจฉัยโรคได้ช้า”  ช่วงเวลาเดียวกันนั้นที่มี
             การระบาดหนักในระยะเริ่มแรกประเทศไทยก็ประสบปัญหาเรื่องอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
             (Personal Protection Equipment; PPE) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติติงานสวมใส่ ขณะปฏิบัติติงานเพื่อ

             ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากลักษณะการปฏิบัติงาน สภาพการท�างาน และสิ่งแวดล้อม
             ในสถานที่ปฏิบัติงานการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
             ส�าหรับบุคลากรสาธารณสุขขาดแคลนด้วยเช่นกัน จึงเกิดค�าถามว่าเหตุใดรัฐบาลจึงขาดประสิทธิภาพใน
             การบริหารทั้ง ๆ ที่มีประสบการณ์รับมือโรคระบาดในอดีต และยังมีแผนปฏิบัติการจัดการโรคระบาดอยู่

             ในมือ ดังนั้นการทบทวนบทบาทของรัฐบาลที่สามารถเป็นตัวกลางประสานงานกับพื้นที่ที่ยังไม่เกิดการ
             ระบาดเพื่อขอให้มีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรกับพื้นที่ระบาด ก็อาจจะสามารถปิดช่องว่างการขาดแคลน
             บุคลากรและ PPE ได้หรือรัฐบาลควรประสานงานกับภาคเอกชน โดยเฉพาะบริษัทด้านเทคโนโลยี ในการ
             จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สอดคล้องกับแนวทางของรัฐบาลไต้หวันและสิงคโปร์ที่ปรากฏบทบาทของ

             ผู้น�าประเทศและการประสานงานกับภาคส่วนต่าง ๆ มีผลอย่างมากต่อความส�าเร็จในการจ�ากัดจ�านวน
             ผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 ดังนั้นความล่าช้าในการตอบสนองต่อโรคระบาดของประเทศอาจท�าให้การระบาด
                        ๗
             ยาวนานขึ้น  การด�าเนินการเรื่องชุดตรวจและ PPE จึงจ�าเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน
             แต่อย่างไรก็ตามภาคเอกชนของประเทศไทยในด้านการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมยังขาดศักยภาพที่

             สามารถผลิต PPE หรือผลิตชุดตรวจแบบ RT-PCR จ�านวนหลายแสนชุดต่อวัน          ๘

                     ปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาดใหญ่โควิค 19 ซึ่งโดยปกติ
             การพัฒนาวัคซีนต้องใช้เวลานานหลายปี และวัคซีนบางชนิดอาจใช้เวลาเป็นหลายสิบปี ขณะนี้ทั่วโลกมีความ

             พยายามพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 มากกว่า 1๕๐ ราย บางรายมีความคืบหน้าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ท�าให้
             เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันด้วยการสร้างแอนติบอดี (สารภูมิต้านทาน) และไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง
             เมื่อหน่วยงานก�ากับดูแลอนุมัติให้ใช้วัคซีนได้แล้วก็จะมีการผลิตวัคซีนหลายพันล้านโดส แต่ยังอาจมีเรื่องให้ต้อง
             ปวดหัว คือการจัดส่งและบริหารจัดการในระดับโลกที่ต้องอาศัยความร่วมมือเพื่อให้คนที่ยากจนไม่พลาดโอกาส
             ในการเข้าถึงวัคซีน โดยคาดว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาจเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับวัคซีนก่อน แต่อย่างไรก็ตาม




                                                                            มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓  ๔๗
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54