Page 52 - E-BOOK
P. 52
เรียนออนไลน์ได้ หรือการประสานงานระหว่างบุคคลและลักษณะงานบางอย่างไม่สามารถท�าที่บ้านได้
มีความล่าช้าในการปฏิบัติงานเนื่องจากงดเว้นการรวมกลุ่มและการประชุมในระยะแรก รวมถึงความพร้อมของ
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการท�างานผ่านระบบออนไลน์ของแต่ละบุคคลมีข้อจ�ากัดแตกต่างกัน
ความไม่สะดวกในการเข้าถึงน�้าสะอาดและเพียงพอเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสิ่งอ�านวยความสะดวกเพื่อ
ล้างมือ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันโรคโรคโควิด 19 ที่ส�าคัญที่สุด การจัดหาพลังงานและก�าลังคนขาดแคลน
ประชากรที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดต้องเผชิญความเสี่ยงในการติดโรคโรคโควิด 19 มากกว่าพื้นที่อื่น เพราะ
ความหนาแน่นของประชากรและปัญหาเรื่องสุขาภิบาล ความขัดแย้งท�าให้มาตรการต่อสู้โรคโควิด 19 ไม่มี
ประสิทธิภาพ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งมีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะเกิดความสูญเสียจากโรค
ซ�้าเติมความเห็นด้านลบต่อโลกาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และ
เทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี
และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก แต่ก็เป็นการเน้นย�้า
ให้เห็นถึงความส�าคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ท�าให้เกิดมีค่าใช้จ่ายในการ
ด�ารงชีวิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องปฏิบัติตัวตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค รวมทั้งค่า
ใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารที่เพิ่มขึ้น จากการจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้รองรับกับการท�างานผ่านระบบ
ออนไลน์ ทั้งในระดับหน่วยงานและในระดับบุคคล
ผลกระทบทางสังคมจากโรคระบาดใหญ่ท�าให้เกิดการตีตราทางสังคม ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
ปัจจัยหลัก ๓ ประการ คือ 1) โรคระบาดใหญ่โรคโควิด 19 เป็นโรคอุบัติใหม่และมีหลายเรื่องที่องค์ความรู้ทาง
วิชาการยังไม่สามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้ได้ 2) มนุษย์เรามักกลัวสิ่งที่ไม่รู้ และ ๓) การแสดงความ
รู้สึกกลัว “คนอื่น” ท�าได้ง่าย จึงท�าให้เกิดความเข้าใจที่สับสน เกิดความวิตกกังวล และความหวาดกลัวเกิดขึ้น
ในสังคม ปัจจัยเหล่านี้แพร่ความคิดแบบเหมารวมที่อันตรายเพิ่มขึ้นด้วย ผลกระทบที่เกิดจากการการตีตราทาง
สังคมเกิดการท�าลายความสมัครสมานในสังคม และท�าให้เกิดการแยกตัวทางสังคมของกลุ่มคน
แต่อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางบวกของโรคระบาดใหญ่ จากกรณีบทเรียนจากโรคระบาดใหญ่
โรคโควิด 19 ท�าให้วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ระบาดที่ต้องมีการกักตัวในสถานที่รัฐบาล
จัดเตรียมให้หรือในสถานที่อาคารบ้านเรือนของตัวเอง แต่วิกฤติเหล่านี้กลายเป็นสิ่งเร้าท�าให้เราเห็นถึงความ
ส�าคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลกันมากขึ้น จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ท�าให้ในหลายๆ ประเทศ
ทั่วโลกได้มีการน�าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการควบคุมและป้องกันโรคมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ประเทศจีน
เป็นประเทศที่เป็นจุดเริ่มต้นในการแพร่ระบาดของไวรัสโรคโควิด 19 และมีประชากรเป็นจ�านวนมาก แต่ก็ใช้
เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้เกือบครบด้าน ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชั่น Alipay ของบริษัท E-Commerce
ยักษ์ใหญ่ Alibaba เปิดตัวระบบ QR code โดยใช้สีเป็นตัวบอกระดับความเสี่ยงของประชาชนจากบันทึกข้อมูล
การเดินทางและการติดต่อ และแอปพลิเคชั่น Ping an Good Doctor ที่เป็นระบบแพทย์ทางไกลที่ท�าให้ผู้ป่วย
ที่กักตัวอยู่บ้านสามารถติดต่อกับแพทย์และร้านขายยาแบบออนไลน์ รวมทั้งคิดค้นยานพาหนะไร้คนขับส�าหรับ
ส่งอาหารและอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบ “ไร้สัมผัส” ไปยังโรงพยาบาลและพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง ท�าให้ประเทศ
จีนฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ในประเทศสิงคโปร์ได้มีการใช้มาตรการสูงสุดเพื่อคัดกรองผู้ป่วย มีการตรวจทั้งผู้
ที่เข้าข่ายและไม่เข้าข่ายของโรค ให้ข้อมูลที่ถูกต้องด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวช่วยในการกระจายข่าวสาร
อย่างรวดเร็วแก่ประชาชน โดยใช้ AI แปลภาษา มีระบบรายงานต�าแหน่งของประชาชนที่ต้องสังเกตอาการเพื่อ
เช็กว่ากักตัวอยู่บ้านจริงหรือไม่ โดยสุ่มส่ง SMS หาคนที่ต้องการสังเกตอาการในแต่ละวัน แล้วระบบจะระบุ
ต�าแหน่งปัจจุบันแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีระบบ Chat-bot ให้ประชาชนได้สอบถามกับเจ้าหน้าที่โดยตรง
เพื่อรับข้อมูลที่ถูกต้อง ส�าหรับในประเทศไทยมีการผลิตหุ่นยนต์เซฟหมอ โดยสมาคมศิษย์เก่าร่วมกับ
๕๐ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓