Page 44 - E-BOOK
P. 44

ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน คัดกรอง รักษา ฟื้นฟูและควบคุมการแพร่ระบาดที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงการ
            ใช้ชีวิตวิถีใหม่  เช่น การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลรูปแบบการแพทย์ทางไกล การตรวจคัดกรอง การส่งยา

            เวชภัณฑ์แก่ผู้ป่วยทางการขนส่งทั้งทางบก น�้า อากาศ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
            โดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ รวมถึงการให้บริการสุขภาพอื่นนอกเหนือจากโรคระบาดที่ยังคงด�าเนินไปได้โดย
            ไม่ลดประสิทธิภาพลง และต้องเท่าเทียมกันในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะกลุ่ม
            ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง


                           1.๖ ผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ส�านักงานตรวจคนเข้าเมือง และ
            หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนากลไกในระดับพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
            และประชาชน ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคระบาดในพื้นที่ รอยต่อระหว่างจังหวัดและประเทศ
            รวมถึงการบริหารจัดการสิ่งของอุปโภคบริโภคให้เพียงพอและตรงตามความจ�าเป็นของหน่วยงาน องค์กร และ

            ประชาชนในพื้นที่

                           1.๗ องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะประโยชน์ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลก�าไร มูลนิธิ สมาคม
            และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคระบาด และช่วยเหลือ
            ฟื้นฟูเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด


                    2. ขอให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ บริหารจัดการด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และระบบข้อมูล เพื่อให้
            เกิดการสื่อสารอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยส�าคัญต่อการป้องกัน ควบคุมโรค และเป็นฐาน
            แก่การสร้างความเข้าใจ รอบรู้ด้านสุขภาพ และการปฏิบัติที่ถูกต้องของประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย


                           2.1 ส�านักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
            แห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวง
            สาธารณสุข องค์กรวิชาชีพสื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีช่องทางการสื่อสารสาธารณะและสื่อทางเลือก
            ที่หลากหลายในทุกระดับ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายในทุกกลุ่ม การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

            ป้องกันการเกิดภัยพิบัติจากข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนอันเกิดขึ้นคู่กับภัยโรคระบาดที่กระจาย (Infodemic)
            ด�าเนินการจัดการกับข่าวปลอม และลดการตีตราทางสังคม รวมถึงพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการสื่อสาร

                           2.2 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข
            กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบข้อมูล

            ขนาดใหญ่และจัดการให้มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศ ให้สามารถใช้ในการ
            ตัดสินใจและการเฝ้าระวังได้ในทุกระดับ  โดยพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่มีความมั่นคงของ
            ระบบสื่อสารหลักและระบบสื่อสารส�ารอง

                           2.๓ ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวง

            การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย
            และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการระบาด และการระบาดซ�้า

                    ๓. ขอให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ จัดให้มีก�าลังคน และโครงสร้างพื้นฐานที่จ�าเป็นให้เพียงพอทางสาธารณสุข
            เพื่อการเฝ้าระวัง สอบสวนโรค การชันสูตรโรค ป้องกัน รักษาและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค และติดตาม

            สถานการณ์และแนวโน้มการระบาดของโรค







            ๔2     มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49