Page 45 - E-BOOK
P. 45

๓.1  ส�านักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  พิจารณาจัดสรรอัตราก�าลังบุคลากร
             ทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่ขาดแคลนในการปฏิบัติการเฝ้าระวัง  สอบสวนโรคระบาด  เช่น

             แพทย์สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา แพทย์สาขาโรคติดเชื้อ นักระบาดวิทยา เป็นต้น ให้ครอบคลุม
             ทุกจังหวัดของประเทศไทยอย่างเพียงพอ

                            ๓.2 กระทรวงสาธารณสุขประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด�าเนินการ
             จัดโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ พัฒนาทีมตระหนักรู้สถานการณ์ ทีมสอบสวนควบคุมโรค สถานที่กักกัน

             โรคแห่งรัฐ จัดท�าและซ้อมแผนเผชิญเหตุส�าหรับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของโรคระบาดใหญ่ และมีการติดตาม
             ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

                            ๓.๓ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
             กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย

             พลเรือน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนระบบเฝ้าระวัง
             และบริหารจัดการแผนเผชิญเหตุในทุกระดับในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สถานที่กักกันโรคท้องที่
             และพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นและอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีความรู้และ
             ทักษะในการจัดการในสถานการณ์วิกฤตสุขภาพในพื้นที่  โดยบูรณาการร่วมกับภาครัฐ  ภาคประชาชน
             เอกชน สถานประกอบการ และสถาบันวิชาการในระดับพื้นที่


                     ๔. ขอให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ ก�าหนดมาตรการลดผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
             ที่เกิดขึ้นทั้งในระหว่าง และหลังการเกิดวิกฤตสุขภาพ

                            ๔.1 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสถานศึกษา วัด
             ศาสนสถานอื่น ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก�าหนดแนวทางมาตรการในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหา

             สุขภาพจิตทั้งในระหว่างและหลังการเกิดวิกฤตสุขภาพ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

                            ๔.2  สถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน  กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ
             กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสาธารณสุขฉุกเฉิน ส�านักงานสาธารณสุขจังหวัด คณะกรรมการการแพทย์
             ฉุกเฉินจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดท�าแผนลดผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

             ที่เกิดขึ้นทั้งในระหว่าง และหลังการเกิดวิกฤตสุขภาพ ในพื้นที่ และแผนเตรียมความพร้อมส�าหรับโรงพยาบาล
             สนามในกรณีที่จ�าเป็น

                            ๔.๓ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ
             หน่วยงานภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนงบประมาณในการสร้างอาชีพ และเยียวยา ผู้ได้รับ

             ผลกระทบเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้

                            ๔.๔ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครอง
             ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ส�านักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
             กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดท�ายุทธศาสตร์

             การจัดการขยะติดเชื้อในชุมชน และจัดสิ่งแวดล้อมที่มีมาตรฐาน ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อให้มี
             ประสิทธิภาพ

                     ๕. ขอให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ จัดให้มีกลไก นโยบายสนับสนุนส่งเสริมการจัดการความรู้ การวิจัย และ
             พัฒนานวัตกรรม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ทันต่อเหตุการณ์ และนวัตกรรมในการป้องกันการป่วย การเสีย

             ชีวิตจากโรคระบาด


                                                                            มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓  ๔๓
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50