Page 43 - E-BOOK
P. 43
เห็นว่า นโยบายสาธารณะ “การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่” จะ
เป็นนโยบายที่ทรงพลังให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน “ประชาชนทุกคน
บนผืนแผ่นดินไทยมีสุขภาวะที่ดี” การบริหารจัดการจึงไม่ใช่เฉพาะกรณีโรคโควิด 19 เท่านั้น แต่ได้ค�านึงถึง
โรคระบาดใหญ่ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
จึงมีมติดังต่อไปนี้
1. ขอให้หน่วยงานดังต่อไปนี้ บูรณาการด้านการบริหารจัดการ เตรียมความพร้อมศักยภาพและ
ทรัพยากรของระบบบริการสุขภาพ ผสานความร่วมมือกับต่างประเทศ และสร้างการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง
จากทุกภาคส่วน ในการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพ โดยใช้บทเรียนจากการระบาดโรคโควิด 19 เพื่อให้ประเทศ
มีระบบการตัดสินใจเพื่อการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่ชัดเจนในทุกระดับ สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์
ได้ทันเวลาอย่างมีระบบ และมีการบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพที่มีธรรมาภิบาล
1.1 กระทรวงสาธารณสุข เสนอคณะรัฐมนตรีจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินการแพร่
ระบาดของโรคเพื่อรองรับเหตุการณ์ระบาดที่มีผลกระทบวงกว้าง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อ�านวยการศูนย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นเลขานุการ โดยจัดให้มีโครงสร้างให้เหมาะสม สามารถเปิดปฏิบัติการ
ได้ทันที เบ็ดเสร็จ โดยมีองค์ประกอบครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ให้เหมาะสมกับการบริหารการจัดการในสถานการณ์วิกฤตสุขภาพที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2๕๓๔
1.2 กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดท�าและ
ขับเคลื่อนแผนระดับชาติ และระดับจังหวัด ส�าหรับการเตรียมความพร้อมด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม
รักษาพยาบาล และประชาสัมพันธ์ เพื่อตอบสนองต่อภาวะวิกฤติจากโรคระบาดใหญ่อย่างรอบด้าน บนหลัก
การความร่วมมือของพหุภาคี ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ
อย่างยั่งยืน
1.๓ คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทบทวน
ปรับปรุง พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2๕๕๘ รวมถึงหน่วยงานอื่น ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ทันสมัย
และปิดจุดอ่อนซึ่งเป็นข้อจ�ากัดในการบังคับใช้
1.๔ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับส�านักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อ�านวยความสะดวกในการน�าเข้าสินค้าประเภท
ยารักษาโรค เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างเพียงพอและทันการณ์ เช่น
ชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ให้พร้อมใช้ส�าหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค รวมถึง
บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน และประชาชนอย่างเพียงพอและปลอดภัย โดยยึดหลัก
ธรรมาภิบาล และขอให้กระทรวงพาณิชย์ ด�าเนินการควบคุมราคา/ปริมาณสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม
โรคติดต่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2๕๔2
1.๕ กระทรวงสาธารณสุข และส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลัก
ร่วมกับส�านักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง ส�านักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ส�านักงานคณะกรรมการ
ก�ากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการงบประมาณ
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ ๔1