Page 14 - E-BOOK
P. 14
ด้านการกระจาย การแลกเปลี่ยน และการแบ่งปันอาหาร
๓.๗ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายองค์กรชุมชน ภาคประชา-
สังคม ภาคเอกชน หน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมชุมชนให้เป็นหลักในการจัดท�าแผนชุมชนเพื่อจัด
ระบบการกระจาย การแลกเปลี่ยน และการแบ่งปันอาหาร เพื่อเตรียมการและรับมือกับภาวะวิกฤต ทั้งภายใน
ชุมชน ชุมชนใกล้เคียง และเชื่อมโยงกับชุมชนอื่น ๆ โดยการสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริม
การปกครองท้องถิ่น ส�านักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์
๓.๘ ขอให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายองค์กรชุมชน
ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ส่งเสริมการตลาดที่เชื่อมโยงโดยตรงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
๓.๙ ขอให้กระทรวงพาณิชย์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ส�านักงานคณะกรรมการการแข่งขัน
ทางการค้า เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค หน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดการค้าที่เป็นธรรมระหว่าง
ระบบค้าปลีกแบบดั้งเดิมและระบบการค้าสมัยใหม่ รวมถึงผลักดันการด�าเนินการตามพระราชบัญญัติการแข่งขัน
ทางการค้า พ.ศ. 2๕๖๐
๓.1๐ ขอให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม หน่วยงานและภาคีที่
เกี่ยวข้อง เครือข่ายองค์กรชุมชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ร่วมกันบริหารจัดการ กระจาย แลกเปลี่ยน
อาหารจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมในภาวะวิกฤต
๔. การพัฒนาระบบดูแลประชากรเปราะบาง และประชาชนที่ขาดความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต
๔.1 ขอให้กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับเครือข่ายองค์กร
ชุมชนและภาคประชาสังคม พัฒนาฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จัดท�าระบบการค้นหา ระบบการช่วยเหลือ ระบบ
การสื่อสาร รวมถึงพัฒนากลไกของชุมชน และสนับสนุนระบบอาสาสมัครให้สามารถช่วยเหลือดูแลประชากร
เปราะบางและประชาชนที่ขาดความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ในรูปแบบที่
หลากหลายและสอดคล้องเหมาะสมกับช่วงวัย บริบทของชุมชนและวิถีวัฒนธรรม เช่น ตู้ปันสุข ธนาคารอาหาร
ระบบครัวเคลื่อนที่ การจัดการของเครือข่าย บ.ว.ร. ครัวชุมชน ปันอาหารปันชีวิต
๔.2 ขอให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสต๊อกอาหาร และสินค้าเกษตรอื่น ๆ จัดระบบและแผนปฏิบัติการน�าอาหาร
ที่มีคุณภาพออกมากระจายให้ทั่วถึงอย่างเป็นธรรมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
๕. การพัฒนาระบบการจัดการร่วมกันเพื่อความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต
๕.1 ขอให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เพิ่มมาตรการควบคุมราคาสินค้าอาหาร ด�าเนินการทางกฎหมายต่อผู้กักตุนสินค้าอาหารอย่างจริงจัง
และเพิ่มบทลงโทษทางกฎหมายต่อผู้กักตุนสินค้าอาหาร และชุมชนมีมาตรการทางสังคมต่อผู้กักตุนสินค้าอาหาร
๕.2 ขอให้ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หน่วยงานและภาคี
ที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหารของชุมชน สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ต้นแบบด้านการส�ารองอาหาร
12 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓