Page 13 - E-BOOK
P. 13

2.  สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกันก�าหนดเป้าหมายว่า ใน ๕  ปีข้างหน้า (ภายใน พ.ศ. 2๕๖๘)
             ประเทศไทยมีความพร้อมและสามารถจัดการอาหารในภาวะวิกฤต โดยขอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้

             ส�านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดท�านโยบายและแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วย
             ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ทั้งนี้ต้อง
             ครอบคลุมในประเด็น (1) การพัฒนาระบบอาหารให้พร้อมรับภาวะวิกฤต ทั้งการผลิต การแปรรูป การส�ารอง
             การกระจาย การแลกเปลี่ยน และการแบ่งปันอาหาร (2) การพัฒนาระบบดูแลประชากรเปราะบาง และประชาชน
             ที่ขาดความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต และ (๓) การพัฒนาระบบการจัดการร่วมกันเพื่อความมั่นคงทาง
             อาหารในภาวะวิกฤต


                     ๓. การพัฒนาระบบอาหารให้พร้อมรับภาวะวิกฤต

                            ด้านการผลิตอาหาร

                            ๓.1 ในภาวะวิกฤต ขอให้คณะรัฐมนตรีบังคับใช้มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
             อาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2๕๕1 เพื่อก�าหนดให้เขตพื้นที่ใดเป็นเขตพื้นที่ที่จ�าเป็นต้องสงวนไว้เพื่อประโยชน์ด้าน
             ความมั่นคงด้านอาหารเป็นการชั่วคราว


                            ๓.2 ขอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายองค์กรชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่น ท้องที่
             บ้าน วัด โรงเรียน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
             จากฐานของชุมชน รวมทั้งองค์ความรู้และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนมีแหล่งผลิต ปัจจัยการผลิต
             แปรรูปอาหาร ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในภาวะวิกฤต


                            ๓.๓ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้มีมาตรการที่เป็นธรรมเพื่อน�าที่ดินอันเป็นสาธารณ
             สมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ประโยชน์เพื่อความมั่นคงทางอาหารของ
             ประชาชน เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ แหล่งน�้าที่ใช้ร่วมกัน

                            ๓.๔ ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวง
             มหาดไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรรม เกษตรกร

             ครัวเรือน และชุมชน ให้มีความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
             โดยให้ความส�าคัญกับการเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน การจัดการน�้า ความหลากหลาย
             ทางชีวภาพ เช่น พันธุกรรมพืชและสัตว์ และค�านึงถึงความยั่งยืน ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียม
             และเป็นธรรม รวมถึงการควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย และคุณค่าทางโภชนาการ

                            ด้านการส�ารองอาหาร


                            ๓.๕ ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วย
             งานและภาคีที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เกิดการผลิตและระบบการส�ารองอาหาร ตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับ
             ชุมชน และครัวเรือน โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย ปลอดภัย เพียงพอ และพร้อมกระจาย สอดคล้องกับ ภูมินิเวศ
             วัฒนธรรมของท้องถิ่น และวิถีชุมชน เช่น ธนาคารอาหาร ธนาคารเมล็ดพันธุ์ในชุมชน แปลงรวมของชุมชน
             ครัวกลางชุมชน กองทุนอาหาร (ซะกาต)


                            ๓.๖ ขอให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
             กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนชุมชน ภาคประชา
             สังคม ภาคเอกชน และเครือข่ายด้านการศึกษาวิจัย ในการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
             ด้านการผลิต แปรรูป ถนอมอาหารเพื่อการส�ารองอาหารส�าหรับภาวะวิกฤต และกระจายเทคโนโลยีสู่ชุมชน



                                                                            มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓  11
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18