Page 12 - E-BOOK
P. 12
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ สมัชชาสุขภาพ ๑๓. มติ ๑
๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓
ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต
(Food Security in Crises)
นโยบายสาธารณะนี้มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีการจัดการร่วมกัน เพื่อสร้างความ
มั่นใจว่าในทุกภาวะวิกฤต ประชาชนทุกคนในทุกพื้นที่ของประเทศไทยจะได้รับการคุ้มครองสิทธิ
ในอาหาร คือ สามารถเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ ได้อย่างเป็นธรรม
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่สิบสาม
ได้พิจารณารายงาน เรื่อง ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต 1
ได้รับทราบสถานการณ์และปัญหาเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางอาหารในประเทศไทย ทั้งที่มา
การเข้าถึง และการกระจายอาหาร ซึ่งพบว่าในสถานการณ์วิกฤตการระบาดของโรคโควิด-19 ปัญหาความไม่
มั่นคงทางอาหารปรากฎเด่นชัดมากขึ้น เช่น ไม่มีอาหารจ�าหน่าย มีคนจ�านวนมากไม่มีก�าลังซื้ออาหาร และ
ยังมีประชากรเปราะบางจ�านวนมากที่ต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนอาหาร ในอีกด้านหนึ่งก็ปรากฏให้เห็น
การปรับตัวของผู้คน ชุมชน องค์กรและเครือข่ายทางสังคม ที่ร่วมกันด�าเนินการรับมือกับปัญหา รวมถึงได้รับทราบ
สถานะของนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันทั้งที่มีผลเชิงลบและที่หนุนเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร
ในภาวะวิกฤต จึงร่วมกันก�าหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในประเด็นนี้
จึงมีมติดังต่อไปนี้
1. สมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเห็นตรงกันว่า “สิทธิในอาหาร” หรือสิทธิในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ
ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการในทุกสถานการณ์ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนในประเทศไทย
ที่ต้องได้รับการปกป้อง ดูแล และคุ้มครอง โดยเป็นหน้าที่ของรัฐและทุกภาคส่วนของสังคม ด�าเนินการร่วมกัน
ด้วยความช่วยเหลือเกื้อกูล ค�านึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตระหนักในความต้องการด้านอาหารและวัฒนธรรม
ที่แตกต่างกันของประชาชนแต่ละกลุ่ม แต่ละบุคคล และเสนอให้บัญญัติ “สิทธิในอาหาร” ไว้ในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย
1 เอกสารสมัชชาสุขภาพ 1๓ / หลัก ๓
1๐ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓