Page 42 - E-BOOK
P. 42
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ สมัชชาสุขภาพ ๑๓. มติ ๒
๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓
การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่
(Participatory health crisis management for pandemics)
โรคระบาดใหญ่เป็นปัญหาสาธารณสุขและสาธารณภัยระดับโลก ท�าให้เกิดผลกระทบใน
หลายมิติที่มีความซับซ้อนสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน นโยบายสาธารณะในการบริหารจัดการ
วิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจะเป็นพลังให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศบรรลุการพัฒนา
ที่ยั่งยืน “ประชาชนทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยมีสุขภาวะที่ดี”
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่สิบสาม
ได้พิจารณารายงาน เรื่อง การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่
ตระหนัก ว่า โรคระบาดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีแนวโน้มเกิดความรุนแรงขึ้นเป็นภัยพิบัติ
มีผลกระทบเกิดขึ้นเป็นวงกว้างในทุกมิติทั้งทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม การเมือง
ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และระดับสาธารณะ เกิดเป็น “วิกฤตสุขภาพ” ส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาวะทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา
รับทราบ ว่า การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2๕๕2 เรื่อง “โรคติดต่ออุบัติใหม่”
และครั้งที่ ๖ พ.ศ. 2๕๕๖ เรื่อง “การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียว ของคน-สัตว์
-สิ่งแวดล้อม” ท�าให้ประเทศไทยได้มีการจัดท�าแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรค
ติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2๕๕๖ - 2๕๖๔
ชื่นชม ว่า ความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขไทย และความร่วมมือของอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�า
หมู่บ้าน (อสม.) ประชาชน ผู้น�าชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายองค์กรชุมชน หน่วยงานภาครัฐ
และเอกชนในพื้นที่ ท�าให้ประเทศไทยสามารถรับมือการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(โรคโควิด 19) จนเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศที่ดีที่สุดด้านการฟื้นตัวจาก โรคโควิด 19
ห่วงใย ว่า การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพเป็นปัญหาซับซ้อน ภายใต้บริบทของระบบสุขภาพไทยใน
ปัจจุบันอาจมีแนวโน้มของการคิดแยกส่วนโดยอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสิน
ใจเชิงนโยบาย และน�าไปสู่การปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วม
1 เอกสารสมัชชาสุขภาพ 1๓ / หลัก ๔
๔๐ มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓