สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่าน นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)


  • slidebg1

สมัชชาเฉพาะประเด็น

มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วย การเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ


การเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

แรงงานข้ามชาติต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพ โดยการมีหลักประกันสุขภาพที่เข้าถึงและได้รับ บริการอย่างเป็นธรรมโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติทั้งนี้ให้มีการกำหนดนโยบายสาธารณะและมาตรการสนับสนุน ด้านต่างๆ ที่ชัดเจนโดยบูรณาการในแผนพัฒนาประเทศ

สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นได้พิจารณารายงาน เรื่อง การเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพของกลุ่มแรงงาน ข้ามชาติ คำนึงถึง ว่าธรรมนูญองค์การอนามัยโลก ค.ศ. ๑๙๔๖ ระบุว่าสิทธิด้านสุขภาพคือการบรรลุผลลัพธ์ทาง สุขภาพตามมาตรฐานสูงสุด โดยปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘ รับรองให้สิทธิด้านสุขภาพเป็น สิทธิมนุษยชน และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติค.ศ. ๑๙๖๕ รับรองสิทธิ นี้ให้กับทุกคนโดยไม่เลือกเชื้อชาติหรือแหล่งกำเนิด ชาติหรือเผ่าพันธุ์ ส่วนกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ระบุให้รัฐภาคีมีหน้าที่จัดให้ทุกคนบรรลุสิทธิด้านสุขภาพ โดยดำเนินการผ่าน ปฏิบัติการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ และประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจนโยบายสุขภาพ คำนึงถึง มติสมัชชาสุขภาพ ๑.๘ ว่าด้วยเรื่องความเสมอภาคในการเข้าถึงและได้รับบริการสาธารณสุข ที่จำเป็นที่ผูกพันในหลักการให้ทุกคนในประเทศไทยมีหลักประกันสุขภาพและมีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการ สาธารณสุขที่จำเป็น เพื่อสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพในประเทศ ตระหนัก ว่าการย้ายถิ่นเป็นปรากฏการณ์ร่วมระดับโลก ประเทศไทยมีประชากรแรงงานข้ามชาติมากที่สุด ในอาเซียน และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยเป็นสาเหตุหลักของความต้องการแรงงานสูงขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น อัตราการเกิดต่ำ และจำนวนประชากรจะลดลง อย่างต่อเนื่อง อีกราวหนึ่งศตวรรษจากนี้ ประเทศไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงการนำเข้าแรงงานข้ามชาติเพื่อรักษากำลัง แรงงานและระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ กังวล ว่าประเทศไทยยังขาดภาพอนาคตการพัฒนาที่มีแรงงานข้ามชาติเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ขาดการบูรณาการประเด็นแรงงานข้ามชาติในแผนพัฒนาประเทศ มาตรการว่าด้วยแรงงานข้ามชาติ มีลักษณะเฉพาะหน้าชั่วคราว มุ่งเน้นควบคุมการเคลื่อนย้ายมากกว่าบูรณาการเข้ากับตลาดแรงงานและระบบ ประกันสุขภาพ/สังคม นำมาสู่ความลักลั่นกับมาตรการด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แรงงานข้ามชาติ ๑ มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ(Right to Health of Migrant Workers) มติ(Policy Resolution) หน้าที่ ๒ | ๕ ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงสิทธิด้านสุขภาพและบริการสุขภาพ ส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสุขภาพ และความเป็นปึกแผ่นทางสังคม สังเกต ว่าแรงงานข้ามชาติบางกลุ่มไม่มีหลักประกันสุขภาพรองรับ และในภาวะวิกฤตการระบาดใหญ่ของ โรคโควิด 19 เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพสูงและก่อให้เกิดภาระการคลังสุขภาพ รับทราบ ว่าประเทศไทยมีภาระผูกพันต่อกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับที่ว่าด้วยสิทธิด้านสุขภาพ ของแรงงานข้ามชาติ และมีกลไกบูรณาการงานข้ามกระทรวง แต่ยังไม่ให้น้ำหนักประเด็นทางสิทธิด้านสุขภาพ ภาคเอกชนยังประสบกับระบบราชการที่ยุ่งยากซับซ้อนในการนำแรงงานเข้าสู่ประกันสังคมและประกันสุขภาพ ภาคประชาสังคมที่พยายามนำแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่มเข้าสู่ระบบสุขภาพ ยังต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐ ตระหนัก ว่ามีความจำเป็นในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพแรงงานข้ามชาติและการเข้าถึงบริการสุขภาพของ แรงงานข้ามชาติเพิ่มเติม และบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายสุขภาพแรงงาน ข้ามชาติแบบองค์รวม ชื่นชม หน่วยงานภาครัฐที่ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ มีกลไกประสานงานข้ามกระทรวง รวมทั้งหน่วยงานภาคประชาสังคมและภาควิชาการจำนวนมากที่ได้ผลักดันประเด็นสุขภาพแรงงานข้ามชาติทั้งใน แวดวงนโยบายสาธารณะและงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่การพัฒนาการคลังสุขภาพแรงงานข้ามชาติผ่าน หลักประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและคนต่างด้าว ระบบบริการที่เป็นมิตรกับแรงงานข้ามชาติ ระบบสาธารณสุข ชายแดน และสร้างความตระหนักรับรู้ในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องต่อประเด็นปัญหาแรงงานข้ามชาติ ห่วงใย ว่าหากไม่มีการบูรณาการแรงงานข้ามชาติในแผนพัฒนาของประเทศ ไม่มีหลักประกันสุขภาพ รองรับแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่ม ระบบบริการสุขภาพไม่ออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะของกลุ่มประชากร บุคลากรทางสุขภาพขาดสมรรถนะทางวัฒนธรรม แรงงานข้ามชาติย่อมไม่อาจบรรลุสิทธิด้านสุขภาพ และประเทศ ไทยย่อมไม่อาจบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและความเป็นปึกแผ่นทางสังคม เห็นว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการจัดสิทธิด้านสุขภาพให้กับแรงงานข้ามชาติได้ตามระดับสิทธิการมี ส่วนร่วมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยไม่คำนึงถึงสถานะการเข้าเมือง ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบ สุขภาพ

เอกสารดาวน์โหลดรูปภาพ

มติ (Policy Resolution)

ดาวน์โหลด

เอกสารหลัก (Main document)

ดาวน์โหลด

แผนที่ทางเดิน (Roadmap)

ดาวน์โหลด

ภาคผนวก

ดาวน์โหลด

รายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมติ

ดาวน์โหลด